Page 84 - คู่มือการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจตามหลักสิทธิมนุษยชน
P. 84

คู่มือการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำารวจตามหลักสิทธิมนุษยชน




          โดยไม่สมัครใจเพราะพนักงานสอบสวนข่มขู่ จูงใจ (โปรดดู แนวคำาพิพากษา
          ศาลฎีกาที่ ๒๑๘/๒๔๗๕, ๑๐๓๙/๒๔๘๒, ๕๐๐/๒๔๗๗, ๕๙๘/๒๔๘๒,

          ๑๗๓/๒๔๗๖, ๔๗๓/๒๕๓๙ เป็นต้น)



                           !  ข้อควรระวัง  ในการแจ้งข้อกล่าว
                  หาเพิ่มเติมหรือสอบปากคำาผู้ต้องหาเพิ่มเติม
                  ทุกครั้งต้องเตือนผู้ต้องหาให้ทราบถึงสิทธิ

                  ตาม ป.วิ.อ. มาตรา ๑๓๔/๑ วรรคแรก, ๑๓๔/๔
                  วรรคแรก (๑) (๒) หากไม่มีการเตือนกฎหมาย
                  ห้ามมิให้รับฟัง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา ๑๓๔/๔
                  วรรคท้าย (โปรดดู แนวคำาพิพากษาศาลฎีกาที่
                  ๗๖๙/๒๔๘๒, ๕๗/๒๔๙๘ และ ๑๕๘๑/๒๕๓๑)





          ๓.๔  การสอบสวนดำาเนินคดีในความผิดอันยอมความได้



                   ๓.๔.๑   หลักการ

                   คำาร้องทุกข์มีความสำาคัญยิ่งในการดำาเนินคดีในความผิด
          ต่อส่วนตัว (ความผิดอันยอมความได้) ในเรื่องอำานาจสอบสวนของพนักงาน
          สอบสวนและอำานาจฟ้องของพนักงานอัยการ กล่าวคือ พนักงานสอบสวน
          จะมีอำานาจสอบสวนในความผิดอันยอมความได้ ต้องมีคำาร้องทุกข์

          ตามระเบียบก่อน ตาม ป.วิ.อ. มาตรา ๑๒๑ วรรคสอง ถ้าไม่มีคำาร้องทุกข์
          หรือคำาร้องทุกข์ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา ๒(๗) พนักงานสอบสวนก็ไม่มี
          อำานาจสอบสวนและทำาให้พนักงานอัยการไม่มีอำานาจฟ้องตามมาตรา ๑๒๐
          ศาลก็ต้องยกฟ้อง




                                        60
   79   80   81   82   83   84   85   86   87   88   89