Page 34 - พระมหากษัตริย์กับงานสิทธิมนุษยชน
P. 34

แม้ว่าการปกครองในสมัยอยุธยานั้นยอมรับพระราชอำานาจของพระมหากษัตริย์ตามแบบเทวราชา
               แต่ก็มีการนำารูปแบบการปกครองของเมืองสุโขทัยอันเป็นหลักของพระมหาธรรมราชามาปรับปรุงและ

               นำาพระธรรมศาสตร์มาเป็นหลักการปกครองอาณาประชาราษฎร์ ดังนั้น การปกครองแผ่นดินจึงมีการ
               ผ่อนคลายให้ราษฎรมีสิทธิมากขึ้นและเป็นไปตามรูปแบบที่กำาหนดในพระธรรมศาสตร์ และกฎหมายเก่า
               ที่เกิดขึ้นในยามที่บ้านเมืองมีสงครามและเปลี่ยนราชวงศ์ สมัยอยุธยานี้มีกฎหมายเก่าเพื่อลงโทษ

               ผู้ทำาผิดและผู้ละเมิดสิทธิผู้อื่นด้วย

                      ในด้านส่งเสริมสิทธิทางการศึกษา พระมหากษัตริย์เล็งเห็นความสำาคัญได้มีการจัดตั้งโรงเรียน
               ครั้งแรกในอาณาจักรสยาม คือ โรงเรียนสามเณรที่ตำาบลมหาพราหมณ์ เมื่อ พุทธศักราช ๒๒๑๑ โดย

               มีนักเรียนเป็นชาวจีน ญวน และชาติตะวันตก เป็นโรงเรียนประจำา สอนวิชาการอย่างตะวันตกโดยใช้
               ภาษาต่างประเทศสอน ต่อมา พุทธศักราช ๒๒๑๔–๒๒๑๘ ได้มีการจัดตั้งศูนย์ศาสนาขึ้นโดยมีโบสถ์

               และโรงเรียนสำาหรับนักศึกษาฝึกสอนศาสนาขึ้นที่เมืองตะนาวศรี ภูเก็ต ลพบุรี อยุธยา พิษณุโลกและ
               สุโขทัย


                      นอกจากนี้ยังได้เปิดโอกาสทางด้านการศาสนา คนไทยที่เรียนศาสนาได้นั้นได้เข้ารีตนับถือ
               ศาสนาคริสต์ นอกจากจะสอนศาสนาแล้ว ยังมีการสอนคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ด้วย


                      ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์นั้นได้มีการส่งนักเรียนไทยไปศึกษาต่างประเทศ เพื่อศึกษาวิชาการ
               ทำาพุ ก่อสร้าง ช่างเงิน  ช่างทอง และอื่นๆ คณะบาทหลวงฝรั่งเศสสมัยนั้นได้ส่งนักเรียนไทยไปเรียน
               วิชาศาสนาชั้นสูงด้วย ภายหลังการศึกษาได้หยุดชะงักลงเนื่องจากมีการเปลี่ยนแผ่นดินและมีการ

               สงครามป้องกันอาณาจักรตลอดมา





































              34     พ ร ะ ม ห า ก ษั ต ริ ย์ กั บ ง า น สิ ท ธิ ม นุ ษ ย ช น
   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39