Page 39 - พระมหากษัตริย์กับงานสิทธิมนุษยชน
P. 39
สิทธิเสรีภาพอันยิ่งใหญ่ที่พระองค์พระราชทานให้ปวงชนชาวไทยที่มิอาจลืมพระมหากรุณาธิคุณ
ของพระองค์ได้ คือ การเลิกทาส พระองค์มีพระราชปรารภถึงสิทธิมนุษยชน และทรงหาวิธีผ่อนผัน
การเลิกทาสได้อย่างละมุนละม่อม คนไทยทุกคนได้รับความเป็นไท
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงวางรากฐานการพัฒนาบ้านเมืองสืบต่อ
จากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยเฉพาะด้านการศึกษา พระองค์ทรงทำานุบำารุงการ
ศึกษา โดยโปรดฯ ให้ขยายกิจการของโรงเรียนมหาดเล็กหลวงเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ในพุทธศักราช ๒๔๕๙ (ตึกอักษรศาสตร์สร้าง วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๔๕๗) โดยตั้งคณะต่างๆ ได้แก่
คณะวิทยาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ คณะคุรุศึกษาและ
คณะรัฐศาสตร์ และทรงจัดตั้งโรงเรียนพระตำาหนักสวนกุหลาบ ซึ่งจัดการศึกษาตามอย่างต่างประเทศ
โดยดำาเนินหลักสูตรตามแบบประเทศสิงคโปร์
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ตราพระราชบัญญัติประถมศึกษาขึ้นใน
พุทธศักราช ๒๔๖๔ เป็นการศึกษาในภาคบังคับ เพื่อให้ประชาชนทุกคนได้รู้หนังสือเบื้องต้นตามอัตภาพ
บิดามารดาจะต้องส่งเด็กอายุตั้งแต่ ๗-๑๔ ปี เข้าเรียนหนังสือ มิฉะนั้นจะถูกปรับโดยมีบทบังคับให้
บุคคลที่อยู่ในท้องถิ่นนั้นเสียเงินบำารุงประจำาปี เรียกว่า เงินศึกษาพลี และเมื่อบังคับให้เด็กนักเรียนเรียน
หนังสือแล้ว จึงโปรดเกล้าฯ จัดตั้งโรงเรียนประชาบาลขึ้นทั้งนี้เพื่อให้ราษฎรมีสิทธิในการศึกษาโดยตรง
พ ร ะ ม ห า ก ษั ต ริ ย์ กั บ ง า น สิ ท ธิ ม นุ ษ ย ช น 39