Page 38 - พระมหากษัตริย์กับงานสิทธิมนุษยชน
P. 38

ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระราชดำาริว่า “ราชการ
               ผลประโยชน์ของบ้านเมือง สิ่งใดที่เกิดขึ้นแลการที่ยังร้างมาแต่เดิมมากนั้น ถ้าจะทรงจัดการแต่พระองค์
               เดียวก็จะไม่สำาเร็จไปได้ ถ้ามีคนช่วยกันคิดหลายปัญญาแล้ว การซึ่งรกร้างมาแต่เดิมก็จะได้ปลดเปลื้อง

               ไปทีละน้อยๆ ความดีความเจริญก็จะบังเกิดแก่บ้านเมือง”

                      ด้วยพระราชปรารภดังกล่าวนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ

               ตั้งสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน เมื่อวันที่ ๘ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๑๗ เรียกทับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า
               เคาน์ซิล ออฟ สเตท (COUNCIL OF STATE) ประกอบด้วยสมาชิกขุนนางสามัญตำ่ากว่าเสนาบดีจำานวน

               ๑๒ คน เป็นการสร้างสิทธิการมีส่วนร่วมในราชการแผ่นดินในรูปแบบสภาที่ปรึกษาขึ้นครั้งแรก

                      ผลการประชุมของสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดินนั้นทำาให้มีผลงานสำาคัญ คือการปฏิรูปการคลัง
               และภาษีอากร พระองค์โปรดเกล้าฯ ตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ โดยมีพระราชกำาหนดให้ทุกหน่วยราชการ

               ส่งเงินรายได้แผ่นดินเข้าหอรัษฎากรพิพัฒน์  เมื่อต้องส่งเงินเข้าหอเช่นนี้ย่อมกระทบกระเทือน
               ผลประโยชน์ของเสนาบดีทุกคนถึงกับมีเหตุขัดขืนพระราชโองการจากเสนาบดีกรมนาขึ้น


                      สิทธิทางด้านการศึกษา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ จัดตั้งโรงเรียน
               หลวง โรงเรียนสอนภาษาอังกฤษ โดยมีคณะมิชชันนารีเข้ามาสอนเพิ่มพูนความรู้ภาษาอังกฤษ
               เพื่อติดต่อกับต่างประเทศ มีโรงเรียนเกิดขึ้น แต่เน้นการจัดการศึกษาเพื่อเปิดประตูสู่อาณาประเทศ

               พระราชทานทุนเล่าเรียนหลวงไปศึกษายังต่างประเทศเพื่อนำาความรู้กลับมาพัฒนาประเทศ



              38     พ ร ะ ม ห า ก ษั ต ริ ย์ กั บ ง า น สิ ท ธิ ม นุ ษ ย ช น
   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43