Page 30 - พระมหากษัตริย์กับงานสิทธิมนุษยชน
P. 30

เมืองในดินแดนสุวรรณภูมิมี เมืองพะเยา เมืองอยุธยา เมืองแพร่ เมืองน่าน เมืองนครราชสีมา
               ต่างก็เป็นเมืองใหญ่ที่มีการจัดการปกครองกันเองตามลักษณะภูมิประเทศและประเพณีวัฒนธรรม

               ของตน ทำาให้นครรัฐที่มีผู้ครองเมือง มีรูปแบบการปกครองที่แตกต่างกัน  แต่ยึดหลักการปกครองแบบ
               พ่อปกครองลูกเหมือนกัน

                      การปกครองแบบพ่อปกครองลูก เป็นการปกครองชุมชนเมืองในสมัยเริ่มแรกที่มีการยอมรับ

               นับถือผู้นำาของตน โดยเชื่อถือพ่อขุนเป็นกษัตริย์หรือพระเจ้าแผ่นดินที่ให้ความใกล้ชิดเสมือนเป็นพ่อ
               ของราษฎรทั้งปวง ดังนั้น การนำารูปแบบการปกครองสมาชิกในตระกูลหรือครอบครัวมาใช้ จึงเป็นการ

               ให้ความเชื่อถือว่าพ่อเป็นผู้ปกครอง ครัวเรือนหลายครัวเรือนที่รวมกันเป็นหมู่บ้าน พ่อผู้ปกครองหมู่บ้าน
               จึงนับถือเป็นพ่อบ้าน และครอบครัวที่ถูกปกครองนั้นเป็นลูกบ้าน เมื่อมีหลายหมู่บ้านมารวมกันเป็น
               เมือง มีผู้ครองเมืองหรือนครรัฐจึงมีฐานะเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ซึ่งเรียกกันในสมัยนั้นว่า พ่อขุน


                      ความเป็นเมืองในระยะแรกนี้เนื่องจากเมืองหรือแคว้นมีอาณาเขตไม่มากนัก ประชาชนตั้ง
               ครัวเรือนรวมกันจำานวนน้อย สามารถไปมาหาสู่กันได้สะดวก พ่อขุนนั้นจึงทำาหน้าที่ดูแลประชาชนได้

               อย่างใกล้ชิด ไม่ถือพระองค์ ไม่ถืออำานาจ ไม่ถือยศศักดิ์แต่อย่างไร พ่อขุนทำาหน้าที่เหมือนพ่อที่คอยฟัง
               ความคิดเห็นของเจ้านายและขุนนาง คอยแก้ไขปัญหาและขจัดความเดือดร้อน ตลอดจนให้ความเป็น
               ธรรมแก่ราษฎร รวมถึงการอบรมสั่งสอน โอยศีลโอยทานกลางดงตาลแก่ข้าราชบริพาร ไพร่ฟ้าราษฎร

               พ่อขุนผู้ครองเมืองจึงล้วนแต่มีเมตตากรุณาแก่ไพร่ฟ้าราษฎร นับเป็นสังคมที่สร้างสิทธิมนุษยชนพื้นฐาน
               ให้เกิดขึ้นโดยทั่วไป


                              “ในปากประตูมีกระดิ่งอันหนึ่งแขวนไว้หั่น ไพร่ฟ้าหน้าปกกลางบ้าน กลางเมือง
                      มีถ้อยมีความเจ็บท้องข้องใจ มักจักกล่าวถึงเจ้าขุนบ่ไร้ ไปสั่นกระดิ่งอันท่านแขวนไว้

                      พ่อขุนรามคำาแหงเมื่อได้ยินเสียงเรียกเมื่อถามสวนความแก่มันด้วยซื่อ” หมายถึง
                      ยามราษฎรมีทุกข์ร้อนเรื่องใดขึ้น ก็สั่นกระดิ่งให้พ่อขุนชำาระความด้วยความเที่ยงธรรม

                              “ไพร่ฟ้าลูกเจ้าลูกขุน ผิแลผิดแผกแสกว้างกัน สวนดูแท้แล้จึงแล่งความแก่

                      ข้าด้วยซื่อ บ่เข้าผู้ลักมักผู้ซ่อน” หมายถึง ผู้ใดทำาผิดไม่ว่าเป็นลูกเจ้าลูกนาย ก็มีการ
                      สอบสวนอย่างซื่อตรง ไม่เข้าข้างผู้ทำาผิด


                      ข้อความในจารึกดังกล่าวนี้  เป็นหลักฐานสำาคัญถึงการปกครองที่พ่อขุนได้ดูแลราษฎร
               ในลักษณะของการเอื้อต่อเรื่องสิทธิมนุษยชนที่ให้ราษฎรมีสิทธิในชีวิตของตน อันนำาให้สังคมเกิด
               “ไพร่ฟ้าหน้าใส” ทำาให้มีความร่มเย็นเป็นสุขถ้วนหน้า และรวมไปถึงสิทธิทางการค้าขาย ทำามาหากิน

               ดังความว่า “ใครจักใคร่ค้าช้าง ค้า ใครจักใคร่ค้าม้า ค้า ใครจักใคร่ค้าเงินค้าทอง ค้า”

                      ด้วยการปกครองแผ่นดินแบบพ่อปกครองลูกนั้นจึงทำาให้เมืองสุโขทัย เป็นเมืองแห่งความสุข

               มีแต่เรื่องโอยศีลโอยทาน และการสร้างสิทธิมนุษยชนจนมีความสุขร่มเย็นสมกับชื่ออาณาจักร



              30     พ ร ะ ม ห า ก ษั ต ริ ย์ กั บ ง า น สิ ท ธิ ม นุ ษ ย ช น
   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35