Page 32 - พระมหากษัตริย์กับงานสิทธิมนุษยชน
P. 32

เมื่อสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์กรุงศรีอยุธยาแล้ว พระองค์จึง
               ได้นำารูปแบบที่ดีของเมืองสุโขทัยนั้นมาปรับแก้ไข โดยจัดระบบศักดินามาใช้ในการปกครองอาณาจักร
               และจัดการบริหารราชการแผ่นดินแบบจตุสดมภ์ คือ เวียง วัง คลัง นา ขึ้นใหม่โดยให้กษัตริย์มีพระราช

               อำานาจตราพระราชบัญญัติและกฎหมายต่างๆ เพื่อใช้ปกครองในลักษณะให้สิทธิกระจายอำานาจต่าง
               พระเนตรพระกรรณและควบคุมกำาลังคน


                      ครั้งนั้นได้ทรงแก้ไขวิธีการปกครองโดยตั้งสมุหกลาโหม เป็นหัวหน้าฝ่ายการทหารทั้งปวง และ
               สมุหนายก เป็นหัวหน้าฝ่ายการพลเรือน ที่กำาหนดให้เป็นจตุสดมภ์คือเป็น ขุนเมือง ขุนวัง ขุนคลัง และ
               ขุนนา ซึ่งเป็นเจ้ากรมที่มีจตุสดมภ์รองลงมา คือ กรมเมือง (กรมเวียง) เรียกว่า นครบาล กรมวังเรียกว่า

               ธรรมาธิกรณ์ กรมคลังเรียกว่า โกษาธิบดี และกรมนาเรียกว่า เกษตราธิการ  ส่วนการปกครองหัวเมือง
               ชั้นนอกชั้นในนั้นพระองค์ทรงใช้วิธีปกครองเช่นเดียวกัน โดยให้เมืองชั้นนอกที่เป็นเมืองพระยามหานคร

               มาก่อนกำาหนดเป็นเมืองขึ้นในชั้น เมืองเอก เมืองโท เมืองตรี มีเจ้าเมืองปกครองได้ทั้งฝ่ายพลเรือนและ
               ฝ่ายทหาร และให้มีกรมการตำาแหน่ง เมือง วัง คลัง นา เช่นเดียวกับพระนคร


                      ส่วนหัวเมืองชั้นในที่อยู่ใกล้พระนครให้แต่งตั้งเจ้าพนักงานในกรุงบังคับบัญชาออกไปถึง
               เมืองนั้นต่างพระเนตรพระกรรณ (ขุนในจตุสดมภ์ หรือยกกระบัตร) หัวเมืองจึงมีแต่กรมการชั้นผู้น้อย
               ในตำาแหน่ง จ่าเมือง แพ่ง และศุภมาตรา ทำาหน้าที่ติดต่อประสานงาน


              32     พ ร ะ ม ห า ก ษั ต ริ ย์ กั บ ง า น สิ ท ธิ ม นุ ษ ย ช น
   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37