Page 36 - พระมหากษัตริย์กับงานสิทธิมนุษยชน
P. 36
พระองค์พระราชทานที่ดินเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยแก่ชนชาติต่างๆ ที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร
และยังได้ดูแลชีวิตให้เป็นไปด้วยความสงบสุขแก่บ้านเมืองต่อไป นับเป็นการให้สิทธิเสรีภาพที่กว้างไกล
จึงมีคำาว่า “พึ่งพระบรมโพธิสมภาร” ที่ได้รับพระราชทานจากพระมหากษัตริย์ เป็นการแสดงถึงสิทธิ
มนุษยชนที่ได้สร้างขึ้นโดยพระมหากษัตริย์ในรัชกาลนั้นๆ
พระมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรีทุกพระองค์ได้เจริญรอยตามพระราชปณิธานของกษัตริย์
พระองค์ก่อน ทรงเป็นที่พึ่งที่แสดงถึงความเป็น “พระบรมโพธิสมภาร” ทรงพัฒนาคุณภาพชีวิตมนุษย์
ให้ดีขึ้นตามลำาดับ โดยเฉพาะเรื่องการศึกษาของราษฎรนั้น ทรงให้สิทธิในการศึกษาตามเหตุอันควร
ในสมัยโบราณนั้นการเล่าเรียนได้ผูกพันอยู่กับวัดและพระพุทธศาสนา มีพระภิกษุเป็นผู้สอนให้
เรียนอ่าน เรียนเขียนและเรียนเลข เรียกว่า ไตรภาค และเมื่ออายุครบ ๒๐ ปี ผู้ชายก็จะได้อุปสมบท
เป็นพระภิกษุเล่าเรียนทางธรรม การแพทย์ (แผนไทย) โหราศาสตร์ และการคัดเขียนจนชำานาญเป็น
อาลักษณ์อย่างที่พูดกันว่า “ลูกผู้ชาย ลายมือนั้นคือยศ” ส่วนผู้หญิงนั้นแม้จะถูกจำากัด แต่ถ้าหากเป็น
บุตรีของผู้มีฐานะก็จะได้รับความรู้ในงานฝีมือชั้นสูง เช่น เย็บปักถักร้อย และการปรุงอาหาร ซึ่งส่วนใหญ่
มักส่งไปอยู่กับวังเจ้านายหรือในราชสำานัก ส่วนบุตรีคนสามัญทั่วไปนั้นต้องรับภาระในครัวเรือน เช่น
ตักนำ้า ตำาข้าว เก็บผักสวนครัว หุงข้าว และทอผ้า เพื่อเตรียมตัวเป็นแม่บ้านของครอบครัวใหม่ต่อไป
36 พ ร ะ ม ห า ก ษั ต ริ ย์ กั บ ง า น สิ ท ธิ ม นุ ษ ย ช น