Page 33 - พระมหากษัตริย์กับงานสิทธิมนุษยชน
P. 33
บุคคลในราชการนั้นพระองค์ได้ทรงจัดให้มีตำาแหน่งชั้นยศศักดิ์ สำาหรับบังคับบัญชาตามลำาดับ
เป็น พระยา พระ หลวง ขุน หมื่น พัน ทนาย และวางตำาแหน่งตาม “ศักดินา” คือการกำาหนดให้
ผู้มียศในแต่ละชั้นยศนั้นมีที่นาตามจำานวนไร่ เช่น พลเรือนมีที่นาเพียงคนละ ๒๕ ไร่ ขุนนาง
มีศักดินาตั้งแต่ ๕๐ ไร่ถึง ๑๐,๐๐๐ ไร่เป็นที่สุด ส่วนเจ้านายชั้นสูง (เชื้อพระวงศ์) มีมากกว่าจาก
๑๐,๕๐๐–๒๐,๐๐๐ ไร่
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงให้มีกฎมณเฑียรบาล เป็นตำาราราชประเพณีของราชสำานักขึ้น
โดยแบ่งได้เป็นตำาราว่าด้วยแบบแผนในการปกครองบ้านเมืองและพิธีการต่างๆ เช่น พระราชพิธีต่างๆ
พระธรรมนูญว่าด้วยตำาแหน่ง หน้าที่ในการทำาราชการต่างๆ และพระราชกำาหนดที่เป็นข้อบังคับสำาหรับ
ราชสำานัก
ส่วนการพิจารณาความตามพระราชอำานาจ ได้จัดให้มีการบังคับบัญชาเบื้องต้น คือ รับฟ้อง
แล้วพิจารณาตลอดจนปรับไหมลงโทษผู้ทำาผิด เป็นหน้าที่ข้าราชการ ส่วนการตรวจสำานวน และตัดสิน
ว่าผิดและชอบตามกฎหมาย เป็นหน้าที่ของพราหมณ์ ที่เป็นผู้รอบรู้ในพระธรรมศาสตร์ แต่ไม่มีอำานาจ
ในการบังคับบัญชา เพื่อให้พระราชอำานาจนั้นอยู่กับพระเจ้าเหนือหัวแต่พระองค์เดียว
พ ร ะ ม ห า ก ษั ต ริ ย์ กั บ ง า น สิ ท ธิ ม นุ ษ ย ช น 33