Page 15 - รายงานผลการตรวจสอบเพื่อมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย : กรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ 12 มีนาคม 2553 ถึงวันที่ 19 พฤษภาคม 2553
P. 15

๒)  คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติจะทำาการรวบรวม วิเคราะห์ และ

                        ศึกษาข้อเรียกร้องที่กระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของผู้ชุมนุม ที่มีต่อรัฐบาลอย่างเป็นระบบ
                        โดยเฉพาะเรื่องที่เป็นปัญหาความเดือดร้อนของผู้ชุมนุมและประชาชน เพื่อหาทางออกของ

                        สังคมร่วมกันต่อไป
                                   ๓)  เรื่องเรียกร้องที่เกี่ยวเนื่องจากการชุมนุม  ที่แต่ละฝ่ายร้องเรียนมาที่

                        คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ นั้น  คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติจะตั้ง
                        คณะกรรมการชุดพิเศษ โดยมีประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เป็นประธาน  และ

                        กำาลังทาบทามบุคคลซึ่งเป็นที่ยอมรับจากสังคม เพื่อความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย
                                   ๔)  เนื่องจากสถานการณ์การชุมนุมครั้งนี้  มีความซับซ้อนอ่อนไหว และ

                        เปราะบาง  ดังนั้น ทิศทางการดำาเนินการของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติต่อไป
                        จะต้องเป็นมติของคณะกรรมการทั้งชุดเท่านั้น”


                                      เมื่อวันที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๕๓  ช่วงเวลากลางคืน ได้เกิดเหตุการณ์มีกลุ่ม
                     ผู้ชุมนุมบางส่วนบุกเข้าไปในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์  เพื่อตรวจสอบค้นหากำาลังทหาร ซึ่งถือเป็น

                     การกระทำาที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง  คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้ออก
                     แถลงการณ์ เรื่อง ขอประณามการละเมิดหลักการสิทธิมนุษยชนและเรียกร้องให้เคารพเครื่องหมาย

                     กาชาด  สถานพยาบาล  การปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรทางการแพทย์  และสิทธิของผู้บาดเจ็บและ
                     ผู้ป่วย  โดยมีเนื้อหาในแถลงการณ์ ดังนี้

                                   “จากการกระทำาอันเป็นการละเมิดด้วยการข่มขู่ คุกคาม บุกรุกสถานรักษา
                        พยาบาลอย่างต่อเนื่อง  เช่น การปิดล้อม การปิดกั้นทางเข้า-ออก การเข้าไปตรวจค้น หรือ

                        แม้แต่การนำาร่างผู้เสียชีวิตออกจากโรงพยาบาลโดยไม่เป็นไปตามขั้นตอน  ทำาให้บุคลากร
                        ทางการแพทย์  ผู้รักษาพยาบาลไม่สามารถช่วยเหลือ ดูแลรักษา และปฏิบัติหน้าที่ได้

                        อย่างเต็มที่  เกิดการหยุดชะงักในการให้บริการการรักษาพยาบาลแก่ประชาชนโดยทั่วไป
                        และในภาวะฉุกเฉิน  สร้างความหวาดกลัวและความรู้สึกไม่ปลอดภัยในการปฏิบัติหน้าที่

                        ขณะเดียวกัน สิทธิของประชาชนที่จะได้รับการรักษาพยาบาล  ตลอดจนผู้บาดเจ็บ ผู้ป่วย
                        หรือผู้เข้ารับการรักษาตัวในสถานรักษาพยาบาลก็ถูกละเมิดอย่างร้ายแรง  ยิ่งกว่านั้นยังมี

                                                                                            ้
                        การขัดขวางการนำาผู้บาดเจ็บจากเหตุการณ์ความรุนแรงไปรับการรักษาพยาบาล  ซำาเติมด้วย
                        การทำาร้ายผู้บาดเจ็บในเหตุการณ์

                                   คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติขอประณามพฤติกรรมดังกล่าวอย่าง
                        รุนแรง  ซึ่งถือเป็นการละเมิดหลักการมนุษยธรรม อันเป็นกติกาสากลที่สังคมอารยะพึง

                        ยึดถือ  เพราะแม้แต่ในภาวะสงคราม ทุกฝ่ายยังต้องเคารพเครื่องหมายกาชาด ซึ่งเป็น
                        สัญลักษณ์สากล  อันหมายถึง การให้ความช่วยเหลือด้านการแพทย์และมนุษยธรรมอย่าง

                        เป็นกลางโดยไม่เลือกปฏิบัติ




                                                            13
                                                รายงานผลการตรวจสอบเพื่อมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
                                   กรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๓ ถึงวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๓
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20