Page 14 - รายงานผลการตรวจสอบเพื่อมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย : กรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ 12 มีนาคม 2553 ถึงวันที่ 19 พฤษภาคม 2553
P. 14
“คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติแสดงความห่วงใยต่อการนัดชุมนุม
ในวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๓ ว่าอาจนำาไปสู่สถานการณ์ที่รุนแรงและการละเมิดสิทธิมนุษยชน
ในสังคมประชาธิปไตย การแสดงความคิดเห็น การรวมตัว และการชุมนุมเป็นเสรีภาพ
ขั้นพื้นฐานของบุคคลซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๖๓
ได้ประกันเสรีภาพไว้อย่างชัดเจน ทั้งนี้ ต้องเป็นไปโดยสงบและปราศจากอาวุธ
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติขอวิงวอนให้ทุกฝ่ายยึดมั่นในสันติวิธี
ไม่ใช้ความรุนแรง เคารพสิทธิและเสรีภาพซึ่งกันและกัน โดยสมควรปฏิบัติหน้าที่ของตน ดังนี้
๑) รัฐบาล หน่วยงาน และเจ้าหน้าที่ของรัฐ ต้องเคารพสิทธิและเสรีภาพ
การชุมนุมของประชาชน โดยหลีกเลี่ยงการใช้อาวุธและความรุนแรงในการปฏิบัติหน้าที่
การจำากัดเสรีภาพในการชุมนุมต้องเป็นไปตามหลักการสากล โดยขอให้เจ้าหน้าที่ของรัฐ
ยึดหลักการดังกล่าวอย่างเคร่งครัด ได้สัดส่วนเหมาะสม เท่าที่จำาเป็นตามสถานการณ์และ
คำานึงถึงผลลัพธ์ในทางสันติ
๒) ผู้นำาและผู้เข้าร่วมการชุมนุม ย่อมมีเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและ
ปราศจากอาวุธ ตามรัฐธรรมนูญ แต่การใช้เสรีภาพดังกล่าวต้องไม่ละเมิดกฎหมาย อาทิ
ไม่กระทบต่อความปลอดภัย ความสงบเรียบร้อย หรือสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น
๓) ผู้นำาและผู้เข้าร่วมชุมนุม ต้องไม่กระทำาการใดๆ ที่ยั่วยุให้เกิดความ
เกลียดชัง อันอาจนำาไปสู่การใช้ความรุนแรงต่อประชาชนที่มิได้มีส่วนร่วมในการชุมนุม
ขอได้โปรดเข้าใจว่า การชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธเป็นเสรีภาพขั้นพื้นฐานในทุก
ประเทศที่เป็นสังคมประชาธิปไตย จึงขอให้มีความอดทนและอดกลั้น
๔) คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติขอให้ทุกคนได้ช่วยกันปฏิบัติหน้าที่
พลเมืองที่ดี ด้วยการช่วยกันเฝ้าระวังและป้องกันความปลอดภัยของเคหสถานและชุมชน
โดยรอบ หากมีบุคคลหรือกลุ่มคนที่มีแนวโน้มจะกระทำาการที่เห็นว่าเป็นการละเมิดสิทธิหรือ
กฎหมาย โปรดแจ้งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องโดยตรงทันที และหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้าหรือ
การปะทะระหว่างกัน อันนำาไปสู่ภาวะความวุ่นวายและไร้ระเบียบ”
วันที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๕๓ ได้มีการประชุมคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
แห่งชาตินัดพิเศษเพื่อประเมินสถานการณ์การชุมนุมสาธารณะ และพิจารณาเรื่องร้องเรียนที่
เกี่ยวกับการชุมนุม ตลอดจนทิศทางของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในฐานะที่ทำาหน้าที่
เชื่อมกลไกต่างๆ ในสังคมเพื่อหาทางออกจากวิกฤตร่วมกันและได้ออกแถลงการณ์ ดังนี้
“๑) คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติขอแสดงความชื่นชมผู้มาชุมนุม
และรัฐบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประชาชนกลุ่มต่างๆ ที่ช่วยกันเฝ้าระวังติดตาม กำากับให้การ
ชุมนุมเป็นไปด้วยดี โดยไม่เกิดความรุนแรง
12
รายงานผลการตรวจสอบเพื่อมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
กรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๓ ถึงวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๓