Page 11 - รายงานผลการตรวจสอบเพื่อมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย : กรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ 12 มีนาคม 2553 ถึงวันที่ 19 พฤษภาคม 2553
P. 11

๘) กรณีมีผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บบริเวณวัดปทุมวนารามราชวรวิหาร  ภายหลัง

                     จากแกนนำากลุ่ม นปช. ประกาศยุติการชุมนุม  เมื่อวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๓

                               สำาหรับบทบาทของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติต่อสถานการณ์การชุมนุม
                     ตั้งแต่วันที่ ๑๑ มีนาคม – ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๓  คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

                     ได้ดำาเนินการอย่างต่อเนื่อง ทั้งก่อนการชุมนุม ระหว่างการชุมนุม และภายหลังการชุมนุม โดย

                     คำานึงถึง  (๑)  หลักความเป็นกลางและความเป็นอิสระ  (๒)  การคุ้มครอง ปกป้องสิทธิมนุษยชน
                     ทุกฝ่ายโดยไม่เลือกปฏิบัติ  และ (๓)  การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน  โดยมีอำานาจหน้าที่และ
                     บทบาท ดังนี้


                               ๒.๑  อำานาจและหน้าที่

                                      ๒.๑.๑  อำานาจหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ
                                             คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ

                     ปรากฏในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๒๕๗ โดยมีอำานาจหน้าที่
                     ดังต่อไปนี้

                                             ๑)  ตรวจสอบและรายงานการกระทำา หรือการละเลยการกระทำา

                     อันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน หรือไม่เป็นไปตามพันธกรณีระหว่างประเทศเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
                     ที่ประเทศไทยเป็นภาคี  และเสนอมาตรการการแก้ไขที่เหมาะสมต่อบุคคลหรือหน่วยงานที่กระทำา
                     หรือละเลยการกระทำาดังกล่าวเพื่อดำาเนินการ  ในกรณีที่ปรากฏว่าไม่มีการดำาเนินการตามที่เสนอ

                     ให้รายงานต่อรัฐสภาเพื่อดำาเนินการต่อไป

                                             ๒)  เสนอเรื่องพร้อมด้วยความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญ ในกรณีที่
                     เห็นชอบตามที่มีผู้ร้องเรียนว่า บทบัญญัติแห่งกฎหมายใดกระทบต่อสิทธิมนุษยชน และมีปัญหา
                     เกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ  ทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยวิธี

                     พิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ

                                             ๓)  เสนอเรื่องพร้อมด้วยความเห็นต่อศาลปกครอง ในกรณีที่เห็นชอบ
                     ตามที่มีผู้ร้องเรียนว่า กฎ คำาสั่ง หรือการกระทำาอื่นใดในทางปกครองกระทบต่อสิทธิมนุษยชนและ
                     มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย  ทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาล

                     ปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง

                                             ๔)  ฟ้องคดีต่อศาลยุติธรรมแทนผู้เสียหาย  เมื่อได้รับการร้องขอจาก
                     ผู้เสียหาย และเป็นกรณีที่เห็นสมควรเพื่อแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนเป็นส่วนรวม  ทั้งนี้
                     ตามที่กฎหมายบัญญัติ

                                             ๕)  เสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมายและกฎ

                     ต่อรัฐสภาหรือคณะรัฐมนตรีเพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน





                                                             9
                                                รายงานผลการตรวจสอบเพื่อมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
                                   กรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๓ ถึงวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๓
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16