Page 12 - รายงานผลการตรวจสอบเพื่อมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย : กรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ 12 มีนาคม 2553 ถึงวันที่ 19 พฤษภาคม 2553
P. 12

๖)  ส่งเสริมการศึกษา การวิจัย และการเผยแพร่ความรู้ด้านสิทธิ

                  มนุษยชน
                                          ๗)  ส่งเสริมความร่วมมือและการประสานงานระหว่างหน่วยราชการ

                  องค์การเอกชน และองค์การอื่นในด้านสิทธิมนุษยชน
                                          ๘)  จัดทำารายงานประจำาปีเพื่อประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชน

                  ภายในประเทศและเสนอต่อรัฐสภา
                                          ๙)  อำานาจหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ

                                        ในการปฏิบัติหน้าที่ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติต้องคำานึงถึง
                  ผลประโยชน์ส่วนรวมของชาติและประชาชนประกอบด้วย

                                        คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีอำานาจเรียกเอกสารหรือหลักฐาน
                  ที่เกี่ยวข้องจากบุคคลใดหรือเรียกบุคคลใดมาให้ถ้อยคำา  รวมทั้งมีอำานาจอื่นเพื่อประโยชน์ในการ

                  ปฏิบัติหน้าที่  ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ

                                   ๒.๑.๒  อำานาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน

                  แห่งชาติ  พ.ศ. ๒๕๔๒

                                   พระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒  ได้กำาหนด

                  อำานาจหน้าที่ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติไว้ ดังนี้
                            มาตรา ๑๕  คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีอำานาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้

                                     (๑)    ส่งเสริมการเคารพและการปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชนทั้งในระดับ

                  ประเทศและระหว่างประเทศ
                                     (๒)    ตรวจสอบและรายงานการกระทำาหรือการละเลยการกระทำาอันเป็น
                  การละเมิดสิทธิมนุษยชน  หรืออันไม่เป็นไปตามพันธกรณีระหว่างประเทศเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน

                  ที่ประเทศไทยเป็นภาคี  และเสนอมาตรการการแก้ไขที่เหมาะสมต่อบุคคลหรือหน่วยงานที่กระทำา

                  หรือละเลยการกระทำาดังกล่าวเพื่อดำาเนินการ  ในกรณีที่ปรากฏว่าไม่มีการดำาเนินการตามที่เสนอให้
                  รายงานต่อรัฐสภาเพื่อดำาเนินการต่อไป
                                     (๓)    เสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุง กฎหมาย กฎ หรือ

                  ข้อบังคับต่อรัฐสภาและคณะรัฐมนตรีเพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน

                                     (๔)    ส่งเสริมการศึกษา การวิจัยและการเผยแพร่ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชน
                                     (๕)    ส่งเสริมความร่วมมือและการประสานงานระหว่างหน่วยราชการ
                  องค์การเอกชน และองค์การอื่นในด้านสิทธิมนุษยชน

                                     (๖)    จัดทำารายงานประจำาปีเพื่อประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชน
                  ภายในประเทศเสนอต่อรัฐสภาและคณะรัฐมนตรี และเปิดเผยต่อสาธารณชน






                                                          10
                                             รายงานผลการตรวจสอบเพื่อมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
                                กรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๓ ถึงวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๓
   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17