Page 126 - การรวบรวมและวิเคราะห์เปรียบเทียบ รายงานตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนของคณะอนุกรรมการสิทธิในทรัพยากรน้ำ ชายฝั่ง แร่ และสิ่งแวดล้อม ในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (พ.ศ. 2545 - 2550) : (รายงานหลัก)
P. 126
4.3 กระบวนการจัดท ารายงานและการติดตามผล
4.3.1 ระยะเวลาในการตรวจสอบและเขียนรายงาน
จากการตรวจสอบสถิติวันรับเรื่องร้องเรียน และวันผ่านรายงานของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
พบว่า ได้มีการเริ่มมีการร้องเรียนเข้ามาในช่วงปีพ.ศ.2544 และเริ่มมีการพิจารณาผ่านรายงานโดยคณะกรรมการ
สิทธิมนุษยชนเมื่อปีพ.ศ.2548 จะเห็นได้ว่ามีช่วงเวลาที่ห่างกันมากพอสมควรถึง 4 ปี
จากการสอบถามคณะอนุกรรมการฯ พบว่า สาเหตุแห่งความล่าช้าในการออกรายงานการตรวจสอบ
เนื่องมาจากไม่มีแบบฟอร์มในการจัดท ารายงานที่ชัดเจน ไม่มีระเบียบปฏิบัติในการจัดท ารายงานที่สอดคล้องต่อเรื่อง
ร้องเรียน ไม่มีงบประมาณและบุคคลากรสนับสนุนในการจัดท ารายงานที่เพียงพอต่อเรื่องร้องเรียน เนื่องจาก
อนุกรรมการเป็นผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกที่มีภารกิจประจ าอื่น ในทางปฏิบัติแล้วจึงไม่สามารถด าเนินการจัดท ารายงาน
ด้วยตัวอนุกรรมการเองได้ จึงท าให้ไม่มีรายงานออกมาก่อนปีพ.ศ.2548
ต่อมา ในช่วงปี 2548 คณะอนุกรรมการฯได้รับการร้องเรียนจากผู้ร้องเรียน เกี่ยวกับรายงานผลการ
ั
ตรวจสอบของอนุกรรมการเป็นจ านวนมาก ท าให้มีการพยายามปรับแก้ปญหาในการจัดท ารายงาน ด้วยการ
ก าหนดให้มีรูปแบบรายงานที่ชัดเจน รวมถึงให้มีขั้นตอนการประชุมเชิงปฏิบัติการร่วมกันเพื่อระดมความเห็นของ
อนุกรรมการและมีมติที่ประชุมในการจัดท ารายงาน โดยเมื่อได้ก าหนดรูปแบบที่ชัดเจนดังกล่าวแล้ว ท าให้บุคลากร
ของส านักงานสามารถยกร่างรายงานในส่วนของข้อมูลความเป็นมา ค าชี้แจงที่เกี่ยวข้อง และการลงพื้นที่ตรวจสอบ
ของอนุกรรมการได้ ท าให้เป็นการลดระยะเวลาในการพิจารณาท ารายงานส าหรับอนุกรรมการเพื่อมีความเห็นและ
ั
มติต่อรายงาน ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีรายงานออกมาอย่างต่อเนื่องในช่วงปีพ.ศ.2549 จนถึงปจจุบัน
4.3.2 ระยะเวลาในการพิจารณารายงานจากคณะอนุกรรมการฯโดยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
แห่งชาติ
เนื่องจากรายงานไม่ปรากฏวันที่คณะอนุกรรมการฯมีมติท ารายงานการตรวจสอบและส่งรายงานต่อ
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และวันที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติพิจารณาผ่านรายงานการ
ตรวจสอบ คงมีเพียงวันที่ผู้เรียนยื่นค าร้องต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และวันที่คณะกรรมการสิทธิ
มนุษยชนแห่งชาติพิจารณาผ่านรายงาน ท าให้ยังไม่อาจวิเคราะห์ข้อมูลส่วนนี้ได้ กรณีจึงอยู่ระหว่างการรวบรวม
ั
ข้อมูลจากส านักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และรับฟงความคิดเห็นจากคณะอนุกรรมการฯและ
เจ้าหน้าที่ส านักงานที่เกี่ยวข้อง
4.3.3 การติดตามการแก้ไขปัญหา
จากการตรวจสอบข้อมูลจากส านักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พบว่า หลังจากคณะกรรมการ
สิทธิมนุษยชนแห่งชาติผ่านรายงานของคณะอนุกรรมการฯแล้ว ส านักคุ้มครองสิทธิมนุษยชนเป็นหน่วยงานในการ
จัดส่งรายงานและมติของคณะอนุกรรมการฯตามรายงานไปยังหน่วยงานที่ต้องปฏิบัติหน้าที่ และมีหน้าที่ติดตามเรื่อง
หลังจากครบก าหนด ว่าหน่วยงานได้ปฏิบัติตามมาตรการที่ก าหนดหรือไม่อย่างไร ซึ่งจากข้อมูลของส านักคุ้มครอง
สิทธิมนุษยชนพบว่า หน่วยงานต่างๆได้มีหนังสือตอบกลับมาเกือบทุกกรณี แต่ขาดกระบวนการติดตามจาก
ส านักงานภายหลังจากที่หน่วยงานนั้นๆตอบกลับว่า ได้มีการปฏิบัติให้เป็นไปตามมาตรการมากน้อยเพียงใด ท าให้
ไม่อาจทราบผลที่แท้จริงได้ แต่หากประมวลจากการตอบรับ พบว่า
- ส าหรับมาตรการที่ก าหนดให้ยกเลิกโครงการ ยุติโครงการ และให้ก าหนดค่าชดเชย ไม่มี
การสนองตอบ แต่มีบางกรณีที่มีการตอบกลับในลักษณะของการชะลอโครงการออกไป
ั
- ส าหรับมาตรการที่ก าหนดให้แก้ไขปญหาและบรรเทาความเดือดร้อน โดยส่วนใหญ่จะ
ั
ได้รับการสนองตอบด้วยการตอบกลับว่า ได้มีการส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบและบรรเทาปญหา แต่ทั้งนี้มีการแก้ไข
ั
ปญหาหรือบรรเทาความเดือดร้อนไปจริงหรือไม่เพียงใด ไม่มีการตรวจสอบ มีเพียงส่วนน้อยที่ทราบจากผู้ร้องเรียน
ว่าได้มีการด าเนินการตามมาตรการที่ก าหนด
110