Page 124 - การรวบรวมและวิเคราะห์เปรียบเทียบ รายงานตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนของคณะอนุกรรมการสิทธิในทรัพยากรน้ำ ชายฝั่ง แร่ และสิ่งแวดล้อม ในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (พ.ศ. 2545 - 2550) : (รายงานหลัก)
P. 124
ตารางที่ 4.10 ตัวอย่างบางส่วนของรายงานที่มีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
เรื่อง : สิทธิชุมชน กรณีได้รับผลกระทบจากมลพิษด้านเสียงจากสนามบินสุวรรณภูมิ
ความเป็นมา : สนามบินสุวรรณภูมิได้เริ่มขึ้นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๓ โดยรัฐบาลในสมัยนั้น ได้ก าหนดให้ว่าจ้างบริษัท ลิ้ม
ฟิลด์ (Litchfield Whiting Boune and Associates) ให้ท าการศึกษาและวางผังเมืองส าหรับกรุงเทพฯ ในปี ๒๕๓๓ ซึ่งผล
การศึกษาดังกล่าว ได้ระบุถึงท่าอากาศยานไว้ว่า “กรุงเทพฯ ควรจะมีสนามบินสนามพาณิชย์ใหม่อีกแห่งหนึ่ง เพื่อแยกเครื่องบิน
พลเรือนออกจากเครื่องบินทหาร และเพื่อให้สอดคล้องกับความเจริญเติบโตของเมืองด้วย” ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๐๔ จาก
ั
การศึกษาของส านักงานการบินพลเรือน (ปจจุบัน – กรมการบินพาณิชย์) ได้เสนอเป็นครั้งแรกว่า จุดที่สมควรจะใช้เป็นที่
ก่อสร้างคือ ที่ดินบริเวณคลองลาดกระบัง คลองประเวศ และคลองหนองงูเห่า อ าเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ
สนามบินสุวรรณภูมิได้ผ่านการศึกษาวิจัยเพื่อคัดเลือกพื้นที่ก่อสร้างมาหลายแห่ง และผ่านการพิจารณา
ของคณะรัฐมนตรีเกือบทุกรัฐบาล จนกระทั่งถึงรัฐบาลในสมัยที่พันต ารวจโททักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี จึงได้เริ่ม
ก่อสร้างสนามบินขึ้นในบริเวณหนองงูเห่า ในพื้นที่อ าเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ
การศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมของโครงการสนามบินสุวรรณภูมิได้มีขึ้น ๒ ครั้ง ครั้งแรกเมื่อปีพ.ศ.
๒๕๔๕ ซึ่งในรายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมในครั้งแรกนี้ได้มีการประเมินว่า ในปีเปิดด าเนินการสนามบินจะมี
ผู้โดยสาร ๓๐ ล้านคนต่อปี แต่เนื่องจากต่อมาได้มีการประเมินใหม่ว่า ในปีเปิดด าเนินการน่าจะมีผู้โดยสารเพิ่มขึ้นเป็นจ านวนถึง
๔๕ ล้านคนต่อปี ในปีพ.ศ.๒๕๔๘ จึงได้มีการจัดท ารายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมอีกครั้ง
ั
อย่างไรก็ตาม เมื่อสนามบินสุวรรณภูมิเปิดด าเนินการครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๘ กันยายน ๒๕๔๙ ปญหาเรื่อง
ั
มลพิษทางเสียงกลายซึ่งไม่มีคาดคิดว่าจะมีความรุนแรงมาก่อน ก็ได้เริ่มสร้างปญหาผลกระทบให้กับชุมชนที่อยู่อาศัยบริเวณ
แนวเส้นทางขึ้นลงของเครื่องบิน
ั่
ความเห็น : ดังนั้น คณะอนุกรรมการสิทธิในทรัพยากรน ้า ชายฝง แร่ และสิ่งแวดล้อม เห็นว่า
๑) ผู้อยู่อาศัยในบ้านจัดสรรในเขตที่ต้องขออนุญาตจากส านักงานที่ดินจังหวัดสมุทรปราการ สาขาบางพลี
เมื่อบริษัท ท่าอากาศยานไทย จ ากัด (มหาชน) และกรมการขนส่งทางอากาศ มิได้แจ้งห้ามมิให้ก่อสร้างในพื้นที่เขตดังกล่าว ผู้
อยู่อาศัยจึงเป็นผู้สุจริตสมควรได้รับการชดเชย จนกระทั่งถึงวันที่สนามบินได้เปิดใช้จริง
๒) ผู้อยู่อาศัยในบ้านจัดสรรในเขตที่ต้องขออนุญาตจากส านักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร สาขาลาดกระบัง
เมื่อบริษัท ท่าอากาศยานไทย จ ากัด (มหาชน) และกรมการขนส่งทางอากาศ มิได้แจ้งห้ามมิให้ก่อสร้างในพื้นที่เขตดังกล่าว ผู้
อยู่อาศัยจึงเป็นผู้สุจริตสมควรได้รับการชดเชย จนกระทั่งถึงวันที่สนามบินได้เปิดใช้จริง
๓) ผู้อยู่อาศัยในบ้านอยู่อาศัยในเขตที่ต้องขออนุญาตจากอ าเภอบางพลี ซึ่งอ าเภอบางพลีเพิ่งได้รับแจ้ง
แนวเส้นเสียงตั้งแต่เมื่อเปิดใช้สนามบิน (๒๘ กันยายน ๒๕๔๙) ดังนั้น ผู้อยู่อาศัยจึงเป็นผู้สุจริตสมควรได้รับการชดเชย
จนกระทั่งถึงวันที่สนามบินได้เปิดใช้จริง
๔) ผู้อยู่อาศัยในบ้านอยู่อาศัยในเขตที่ต้องขออนุญาตจากส านักงานเขตลาดกระบัง ซึ่งส านักงานเขต
ลาดกระบังเพิ่งได้รับแจ้งแนวเส้นเสียง เมื่อการประชุมครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๔๘ ผู้อยู่อาศัยจึงเป็นผู้สุจริต
สมควรได้รับการชดเชย ตั้งแต่ก่อนวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๔๘
๓.๓ ผู้ที่เดือดร้อนตามข้อ ๓.๒ มีสิทธิเลือกที่จะย้ายออกจากพื้นที่โดยได้รับค่าชดเชยที่เป็นธรรม จน
เพียงพอแก่การหาซื้อที่อยู่อาศัยแห่งใหม่ในมาตรฐานเท่าเทียมกับที่อยู่อาศัยเดิม หรือมีสิทธิที่จะเลือกให้ปรับปรุงแก้ไขให้ที่อยู่
้
อาศัยสามารถปองกันความเดือดร้อนจากมลพิษทางเสียง
๓.๔ ผู้ที่เดือดร้อนจากแนวเส้นเสียงตั้งแต่ ๓๐-๔๐ NEF สมควรให้เป็นไปตามความเห็นของ
ั่
คณะอนุกรรมการสิทธิในทรัพยากรน ้า ชายฝง แร่ และสิ่งแวดล้อม ตามความเห็นข้อ ๓.๒ และมีสิทธิที่จะเลือกเช่นเดียวกันตาม
ความเห็นข้อ ๓.๓
๓.๕ เนื่องจากสนามบินสุวรรณภูมิขณะนี้เริ่มแออัด รัฐบาลมีนโยบายที่จะขยายสนามบินเป็นโครงการ
ระยะที่ ๒ ในเร็ววันนี้ ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๖๗ วรรคสอง ได้บัญญัติว่า ให้องค์การอิสระ
ด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ให้ความเห็นประกอบต่อรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของ
ประชาชนในชุมชน ซึ่งองค์ประกอบขององค์การอิสระดังกล่าว มีผู้แทนองค์การเอกชนด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ และผู้แทน
สถาบันอุดมศึกษาที่จัดการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมหรือทรัพยากรธรรมชาติหรือด้านสุขภาพ ดังนั้น เมื่อยังไม่มีการจัดตั้งองค์การ
อิสระดังกล่าว สมควรที่ภาครัฐด าเนินการให้กลุ่มบุคคลที่มีลักษณะใกล้เคียงกันให้ความเห็นประกอบต่อโครงการระยะที่ ๒ หรือ
โครงการอื่นในลักษณะเดียวกันไปพลางก่อน
108