Page 122 - การรวบรวมและวิเคราะห์เปรียบเทียบ รายงานตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนของคณะอนุกรรมการสิทธิในทรัพยากรน้ำ ชายฝั่ง แร่ และสิ่งแวดล้อม ในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (พ.ศ. 2545 - 2550) : (รายงานหลัก)
P. 122
ตารางที่ 4.8 ตัวอย่างบางส่วนของรายงานที่เสนอให้ก าหนดค่าชดเชยอย่างเป็นธรรม
เรื่อง : สิทธิชุมชนในการมีส่วนร่วมในการจัดการ การบ ารุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อม กรณีโครงการบรรเทาอุทกภัยอ าเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา (คลองระบายน ้า ร.๑)
ความเป็นมา : ผู้ร้องกับพวกอยู่บริเวณหมู่ที่ ๔ บ้านบางหยี ต าบลบางกล ่า หมู่ที่ ๗ และหมู่ที่ ๑๓ บ้านโคกเมา หมู่ที่ ๑๕ และ
หมู่ที่ ๑๖ บ้านดินลาน ต าบลท่าช้าง อ าเภอบางกล ่า จังหวัดสงขลา มาเป็นเวลาช้านาน แต่เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๓ ได้เกิดน ้าท่วม
ใหญ่ในอ าเภอหาดใหญ่และอ าเภอใกล้เคียง จึงได้มีโครงการขุดคลองระบายน ้าจากอ าเภอหาดใหญ่ เพื่อให้ระบายน ้าออกจาก
้
อ าเภอหาดใหญ่ให้เร็วที่สุด อันเป็นการปองกันมิให้เกิดความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจของอ าเภอหาดใหญ่ โดยเมื่อ พ.ศ.
๒๕๔๕ มีการออกเป็นพระราชกฤษฎีกาก าหนดเขตที่ดินในบริเวณที่จะเวนคืนในท้องที่ต าบลบางเหรียง อ าเภอควนเมียง
ต าบลบางกล ่า ต าบลท่าช้าง ต าบลบ้านหาร อ าเภอบางกล ่า และต าบลน ้าน้อย ต าบลคูเต่า ต าบลหนองแห ต าบลคลองอู่ตะเภา
ต าบลคอหงส์ ต าบลหาดใหญ่ ต าบลควนลัง อ าเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา รวมทั้งที่ดินของ นายสมพร สุขประเสริฐ กับพวก ก็
ถูกเวนคืนไปด้วย
ความเห็น : คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ มีความเห็นว่า
ั
๓.๑ ขาดการระดมความคิดเพื่อหาแนวทางในการแก้ปญหาน ้าท่วมและการระบายน ้าออกจากตัวเมือง
หาดใหญ่ในช่วงฤดูฝน การหาแนวทางเลือกแนวเส้นทาง การใช้ประสบการณ์ของชาวบ้านที่มีประสบการณ์อยู่ในพื้นที่ ซึ่งจาก
ข้อมูลของนักวิจัยพบว่า สามารถระบายน ้าเข้าคลองบางกล ่าเดิมโดยไม่ต้องขุดคลองระบายน ้าสายใหม่ระยะทาง ๒๓.๕
กิโลเมตร
๓.๒ ก่อนเริ่มโครงการ ขาดการให้ข้อมูลข่าวสารให้ผู้ที่ได้รับผลกระทบให้ได้ทราบข้อมูลความเป็นมา
วัตถุประสงค์ และผลกระทบ รวมถึงให้ประชาชนร่วมแสดงความคิดเห็น ให้ข้อเสนอแนะ และร่วมตัดสินใจ
๓.๓ ขาดการศึกษาผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการด าเนินโครงการทั้งในด้านผลกระทบทางเศรษฐกิจ
สังคม และวิถีชีวิตชุมชน รวมถึงมาตรการลดผลกระทบเหล่านั้น ถึงแม้ว่าโครงการนี้จะไม่อยู่ในข่ายที่จะต้องจัดท ารายงานการ
วิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม แต่โครงการนี้ส่งผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง และอยู่ในข่ายประเภทโครงการ
ที่จะต้องท าจัดท ารายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามมติคณะรัฐมนตรี ๑ สิงหาคม ๒๕๔๓ ว่าด้วยการจัดการมาตรการที่เกี่ยวข้อง
กับพื้นที่ชุ่มน ้าระดับชาติและระดับนานาชาติ
๓.๔ กระบวนการก าหนดค่าทดแทน ขาดการมีส่วนร่วมของผู้ที่ได้รับผลกระทบ เนื่องจากคณะกรรมการ
ก าหนดราคาเบื้องต้นของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนและจ านวนเงินค่าทดแทน ซึ่งแต่งตั้งโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวง
เกษตรและสหกรณ์นั้น ปรากฏว่ามีนายอ าเภอเจ้าของท้องที่เป็นประธานกรรมการ และมีกรรมการจากส่วนราชการอื่น มีเพียง
ตัวแทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นกรรมการร่วมเท่านั้น แต่ขาดตัวแทนของประชาชนที่ได้รับผลกระทบเข้าร่วมใน
คณะกรรมการดังกล่าว ท าให้ขาดความเป็นธรรมในการจ่ายค่าทดแทนที่ดินและทรัพย์สิน เนื่องจากค่าทดแทนไม่เป็นไปตาม
ราคาที่ซื้อขายกันตามปกติ รวมทั้งไม่ค านึงถึงการได้มาของสภาพและที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์ ตลอดจนความเสียหายของผู้ถูก
เวนคืน อาทิ ความเสียหายของผู้ที่เหลือที่ดินเป็นรูปชายธง ที่ดินที่เหลือเล็กน้อยจนไม่สามารถใช้ประกอบอาชีพเกษตรกรรม
ต่อไปได้ สวนยางพารามีคลองผ่ากลาง สวนข่าที่มีรายได้ตลอดปี เป็นต้น
ข้อ ๔ มาตรการการแก้ไขปัญหา
ั
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ขอเสนอมาตรการแก้ไขปญหาต่อกรมชลประทาน ส านักนโยบาย
และแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวคือ
๔.๑ ให้กรมชลประทานทบทวนการจ่ายค่าทดแทนแก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบ โดยให้ประชาชน
ดังกล่าวมีส่วนร่วมในการพิจารณาค่าทดแทน ทั้งนี้ ภายในระยะเวลา ๓ เดือน นับแต่วันที่ได้รับรายงานฉบับนี้
๔.๒ ก่อนเริ่มโครงการอื่นๆ ต่อไปในอนาคต กรมชลประทานต้องชี้แจงให้ข้อมูลข่าวสารของ
โครงการนั้นๆ ให้แก่ประชาชนที่อาจได้รับผลกระทบอย่างรอบด้าน พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ประชาชนมีความคิดเห็นแห่งตน ตาม
ั
กระบวนการรับฟงความคิดเห็นของประชาชน
๔.๓ ให้ส านักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เสนอต่อรัฐบาลให้เพิ่ม
โครงการขุดคลองชลประทานหรือคลองระบายน ้าที่สร้างผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อมเช่นโครงการนี้ ให้มีการจัดท า
รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ ภายในระยะเวลา ๓ เดือน นับแต่วันที่ได้รับรายงานฉบับนี้
106