Page 10 - รายงานข้อเสนอแนะเชิงนโยบายของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติต่อกรณีข้อร้องเรียนของเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก
P. 10
รายงานข้อเสนอแนะเชิงนโยบายของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
(8) ต่อกรณีข้อร้องเรียนของเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก
ซึ่งนำาไปสู่ข้อเรียกร้องของประชาชนให้รัฐบาลดำาเนินการให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ
ในการคุ้มครองสิทธิชุมชน
ในช่วงปี ๒๕๕๓ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้รับเรื่องร้องเรียนของเครือข่าย
ประชาชนภาคตะวันออก เกี่ยวกับปัญหาผลกระทบจากการพัฒนาอุตสาหกรรมที่มาบตาพุดและ
จังหวัดระยอง กล่าวคือ
๑) กรณีการออกประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกำาหนดประเภท
โครงการหรือกิจการที่อาจจะมีผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม
ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ ตามมาตรา ๖๗ วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช ๒๕๕๐ รวมทั้งขอให้ติดตามตรวจสอบการดำาเนินงานของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหา
ผลกระทบจากการพัฒนาอุตสาหกรรมที่มาบตาพุดและจังหวัดระยอง และ
๒) กรณีชาวบ้านในพื้นที่ตำาบลมาบตาพุด อำาเภอเมือง จังหวัดระยอง ประสบปัญหาและ
ผลกระทบด้านสุขภาพจากมลพิษสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากโรงงานอุตสาหกรรม แต่รัฐบาลมิได้พิจารณา
แก้ไขปัญหาโดยทันที รวมทั้งมิได้เร่งผลักดันให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแก้ไขปัญหาอย่าง
ถูกต้องและทันต่อเวลา เพื่อให้สิทธิของประชาชนในการดำารงอยู่อย่างปลอดภัยทางด้านสุขภาพ
เป็นจริงต่อไป ซึ่งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้พิจารณาเห็นว่า ประกาศกระทรวงตาม
ข้อร้องเรียนมีผลใช้บังคับเป็นการทั่วไป ประกอบกับปัญหาผลกระทบลักษณะเดียวกันนี้ได้เกิดขึ้นใน
ชุมชนที่อยู่ในพื้นที่แหล่งอุตสาหกรรมอื่นๆ ทั่วประเทศ จึงได้มีมติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ในการประชุม ครั้งที่ ๒๘/๒๕๕๓ เมื่อวันที่ ๘ กันยายน ๒๕๕๓ มอบหมายให้ “คณะทำางานวิชาการเพื่อ
จัดทำารายงานข้อเสนอเชิงนโยบายการคุ้มครองสิทธิชุมชน ตามมาตรา ๖๗ วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐” ประกอบด้วยนักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ
ด้านต่างๆ จากหลายภาคส่วน ดังที่ปรากฏรายชื่อท้ายรายงานดำาเนินการศึกษา โดยใช้เวลาประมาณ
หนึ่งปี และต่อมาได้จัดทำา “รายงานข้อเสนอแนะเชิงนโยบายของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ต่อกรณีข้อร้องเรียนของเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก” เพื่อนำาเสนอต่อรัฐบาลตามอำานาจหน้าที่
ที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๒๕๗ วรรคหนึ่ง (๕) และพระราช-
บัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๕ (๓) บัญญัติไว้ โดยจัดทำา
เป็นรายงานข้อเสนอแนะเชิงวิชาการ ซึ่งเป็นรายงานอีกประเภทหนึ่งนอกเหนือจากรายงานผลการ
ตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนตามอำานาจหน้าที่ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติที่
กำาหนดไว้ใน มาตรา ๒๕๗ วรรคหนึ่ง (๑) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐
และมาตรา ๑๕ (๒) แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒