Page 7 - รายงานข้อเสนอแนะเชิงนโยบายของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติต่อกรณีข้อร้องเรียนของเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก
P. 7
ต่อกรณีข้อร้องเรียนของเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก (5)
รายงานข้อเสนอแนะเชิงนโยบายของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ต่อมา เนื่องจากกระบวนการโลกาภิวัตน์ และการขยายตัวของทุนข้ามชาติ ทำาให้บทบาท
ของภาคเอกชนมีผลกระทบอย่างมากต่อสิทธิมนุษยชน ดังนั้น ในปี ค.ศ. ๒๐๐๘ (พ.ศ. ๒๕๕๑)
เลขาธิการสหประชาชาติในขณะนั้น คือ นาย Kofi Annan ได้มอบหมายให้มีการศึกษาประเด็น
เรื่องธุรกิจและผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนเป็นกรณีพิเศษ การศึกษาของผู้แทนพิเศษของเลขาธิการ
สหประชาชาติในเรื่องนี้ ชี้ให้เห็นถึงอิทธิพลของภาคธุรกิจในการพัฒนา และความจำาเป็นที่ภาครัฐ
และภาคธุรกิจจะต้องมีความรับผิดชอบในการดูแลเรื่องการพัฒนาและผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน
เพิ่มความชัดเจนให้มีมาตรการเยียวยาโดยผู้ที่เกี่ยวข้องในการละเมิดสิทธิ หลังจากนั้น สหประชาชาติ
จึงกำาหนดให้มี United Nations ‘Protect, Respect, and Remedy’ Framework และจัดทำา
เอกสารภายใต้ชื่อ “Guiding Principles on Business and Human Rights : Implementing the
United Nations ‘Protect, Respect, and Remedy’ Framework” ดังปรากฏในข้อมติของสมัชชา
สหประชาชาติ ที่ ๑๗/๔ เมื่อวันที่ ๑๖ มิถุนายน ค.ศ. ๒๐๑๑ (พ.ศ. ๒๕๕๔)
รายงานฉบับนี้จึงเป็นรายงานทางวิชาการที่มุ่งเสนอแนะเชิงนโยบาย ตามกรอบแนวคิดที่
เชื่อมโยงระหว่างสิทธิชุมชน สิทธิในสิ่งแวดล้อมที่ดี และสิทธิในการพัฒนา รวมทั้งหลักการสากล
ที่เกี่ยวข้อง โดยคำานึงถึงปรากฏการณ์การพัฒนาอุตสาหกรรม ในบริบทสังคมไทยและสังคมโลก
ในยุคโลกาภิวัตน์ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้มีมติให้จัดพิมพ์เอกสารฉบับนี้เพื่อประโยชน์
ในการส่งเสริมและเผยแพร่แนวคิดด้านสิทธิมนุษยชนกับการพัฒนาเพื่อประโยชน์ต่อสาธารณชนต่อไป
(ศาสตราจารย์อมรา พงศาพิชญ์)
ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
สิงหาคม ๒๕๕๖