Page 4 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 4

บาดแผล น้ําตา คําจารึก: ถ้อยแถลงของบรรณาธิการ


                            สังคมในคริสต์ศตวรรษที่ 21 เป็นสังคมยุคใหม่ที่เฉลิมฉลองความแตกต่างหลากหลายของมวล

                     มนุษยชาติ สืบเนื่องจากความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 ปัจจุบันการ
                     แบ่งแยกกีดกันมนุษย์โดยมนุษย์ด้วยกันเป็นประเด็นที่มีการคุ้มครองผ่านตัวบทกฎหมาย การเหยียด

                     หยามประทับรอยแห่งความอัปยศในหมู่มนุษย์ด้วยกันเป็นสิ่งที่ถูกต่อต้านด้วยวิธีคิดที่เป็นที่ยอมรับใน
                     ระดับสากลในนาม “สิทธิมนุษยชน”


                            ที่น่าคิดก็คือ ในความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ที่บรรดานักคิดสกุลหลังสมัยใหม่เฝ้าบอกเราว่า
                     เป็นความสัมพันธ์เชิงอํานาจย่อมต้องสงสัยว่าจะหมดจดงดงามและทําให้มนุษย์ยอมรับความแตกต่าง

                     ของกันได้ทุกด้านจริงหรือ คําตอบสําหรับคําถามนี้ย่อมไม่ตายตัวและผูกพันอยู่กับบริบทอย่างลึกซึ้ง

                     หลักฐานหรือเครื่องมืออย่างหนึ่งที่อาจช่วยเราทําความเข้าใจวิธีการที่แต่ละสังคมมองสิทธิมนุษยชนคือ
                     การเดินเข้าสู่โลกวรรณกรรมอันเป็นพื้นที่แห่งการเปล่งเสียงของผู้ถูกกดทับ หรือบางครั้งเป็นเครื่องมือ

                     ในการผลิตซ้ํามายาคติที่ไม่เป็นธรรมของสังคม


                            จากคําถามนําข้างต้น ภาควิชาวรรณคดี คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้
                     นํามาพิจารณา ในฐานะสถาบันการศึกษาที่ต้องสร้างสรรค์และส่งเสริมองค์ความรู้ด้านวรรณคดีศึกษา
                     ภาควิชาฯจึงจัดการประชุมวิชาการ “แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน:  วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชน

                     ศึกษา”  ขึ้น โดยร่วมมือกับคณะกรรมการฝ่ายวิจัย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

                     คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ในวันศุกร์ที่ 20
                     สิงหาคม พ.ศ.2553 ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้

                     ความสัมพันธ์ระหว่างวรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนในมิติข้ามวัฒนธรรม
                            หนังสือที่อยู่ในมือท่านเป็นหนังสือรวมบทความที่นําเสนอในการประชุมวิชาการ รวมทั้ง

                     บทความที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้อง เช่นเดียวกับที่ วรรณคดี-ศิลปะ ประสานศิลป์ (2536) วรรณกรรม-ศิลปะ

                     สดุดี (2538) และ ละคร ระคน ตัวตน มนุษย์: วรรณกรรมกับนาฏกรรมศึกษา (2552) ได้ “ฝากฝัง”
                     ตัวเองไว้ในวงวิชาการหลังจากเสร็จสิ้นโครงการที่ภาควิชาวรรณคดีได้จัดขึ้น


                            เนื้อหาในหนังสือเล่มนี้ประกอบด้วยบทความ 9 เรื่อง บทความเรื่อง “สิทธิมนุษยชนในมิติ
                     วัฒนธรรม” ของ ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.อมรา พงศาพิชญ์ เป็น “อารัมภบท” ที่นําผู้อ่านไปสํารวจ

                     ความหมาย ขอบข่าย และความเป็นมาของสิทธิมนุษยชน เนื้อหาของบทความเป็นพื้นความรู้อย่างดี

                     สําหรับผู้อ่านก่อนที่จะไปอ่านบทความเรื่องอื่นผ่าน “เลนส์” ของสิทธิมนุษยชน
   1   2   3   4   5   6   7   8   9