Page 19 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 19

(๙) ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองแรงงานและระบบแรงงานสัมพันธ์
              เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ตอบสนองต่อสิทธิเสรีภาพในการรวมตัวและการเจรจาต่อรองร่วม โดย
              ให้ความสำคัญกับการจัดตั้งกลไกหรือสถาบันเพื่อแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้งในระดับจังหวัด ลดขั้นตอน
              ทางกฎหมายที่ซับซ้อนและยุ่งยาก แก้ไขปัญหาโดยไม่ยึดติดหรือรอมาตรการทางกฎหมายเพียง
              อย่างเดียว  พัฒนาแนวทางการไกล่เกลี่ยให้อยู่บนพื้นฐานของการส่งเสริมการดำรงอยู่และความ

              เข้มแข็งของสหภาพแรงงาน เนื่องจากความขัดแย้งด้านแรงงานเป็นปัญหาเชิงโครงสร้าง มิใช่
              ความขัดแย้งส่วนบุคคล
              	     ๔.๒ ข้อเสนอการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย มีสาระสำคัญ ดังนี้
                    (๑) ให้เร่งพิจารณาร่างกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน ซึ่งเป็นกลุ่มแรงงาน
              นอกระบบที่ถูกเอาเปรียบอย่างยิ่ง ทั้งนี้ตามหลักการและแนวคิดของเครือข่ายแรงงานนอกระบบ
                    (๒) ให้เร่งแก้ไขปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยประกันสังคมให้ครอบคลุมกลุ่มแรงงานนอกระบบ
                    (๓) ให้เร่งพิจารณาร่างกฎหมายว่าด้วยสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพ

              แวดล้อมในการทำงาน (ฉบับบูรณาการ ซึ่งทั้งภาครัฐและภาคประชาชนได้ร่วมกันจัดทำ)
                    (๔) ให้ยกเลิกกฎกระทรวงฉบับที่ ๑๐ (พ.ศ.๒๕๔๑) ออกตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน
              พ.ศ. ๒๕๔๑ ในส่วนที่ไม่ใช้บังคับกับกิจการประมงทะเลนอกน่านน้ำที่ประกอบกิจการเกินเวลา ๑ ปี
                    (๕) ให้ยกเลิกประกาศจังหวัด เรื่อง การจัดระบบและควบคุมแรงงานต่างด้าว เนื่องจากจำกัด
              สิทธิเสรีภาพแรงงานข้ามชาติมากเกินไป
                    (๖) เร่งแก้ไขพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๘ โดยเฉพาะในประเด็นการคุ้มครอง
              องค์กรแรงงาน การเจรจาต่อรอง และการใช้สิทธิตามกฎหมายของคนทำงานให้ทันต่อเหตุการณ์ และ
              ในประเด็นที่ห้ามลูกจ้างที่ไม่มีสัญชาติไทยจัดตั้งสหภาพแรงงาน เป็นต้น
                    (๗)  เร่งแก้ไขพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน  พ.ศ.  ๒๕๔๑  และพระราชบัญญัติแรงงาน

              สัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๘ ให้สอดคล้องกันในการคุ้มครองคนทำงานให้ได้รับสวัสดิการและสภาพการจ้าง
              ที่เป็นธรรม  และมีการคุ้มครองคณะกรรมการของลูกจ้างที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายเป็นมาตรฐาน
              เดียวกัน และยกเลิกเงื่อนไขการไม่บังคับใช้กฎหมายสำหรับคนงานภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ
                    (๘) เร่งแก้ไขพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ และพระราชบัญญัติประกันสังคม
              พ.ศ. ๒๕๓๓ และพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. ๒๕๓๗ เพื่อคุ้มครองคนทำงานบ้าน และลูกจ้าง
              มีครรภ์อย่างเป็นธรรม และปฏิรูปกฎหมายดังกล่าวให้สอดคล้องกลมกลืนและเป็นประโยชน์ในการเข้า
              ถึงสิทธิดังกล่าว

                    (๙) เร่งแก้ไขกฎหมายแรงงานทุกฉบับให้มีผลบังคับใช้ ลูกจ้างชั่วคราวในราชการ และหน่วยงาน
              ของรัฐให้ได้รับสิทธิสวัสดิการต่าง ๆ อย่างน้อยเท่าเทียมกับคนทำงานภาคเอกชน รวมทั้งเร่งแก้ไข
              กฎหมายว่าด้วยหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ และรัฐวิสาหกิจมิให้ยกเว้นจากกฎหมายแรงงาน
              ทุกฉบับเช่นกัน






                                                                    และบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน  ๑๙





     Master 2 anu .indd   19                                                                      7/28/08   8:40:05 PM
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24