Page 18 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 18
๔. ข้อเสนอแนะ
๔.๑ ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อรัฐบาล มีสาระสำคัญ ดังนี้
(๑) มีนโยบายให้การคุ้มครองด้านแรงงานแก่คนทำงานทุกสาขาอาชีพโดยเท่าเทียมกันใน
มาตรฐานแรงงาน ไม่ว่าทำงานอยู่ในภาครัฐหรือภาคเอกชน และไม่ว่าอยู่ในภาคเศรษฐกิจที่เป็น
ทางการหรือในภาคนอกระบบ โดยไม่จำกัดอยู่เฉพาะตามสัญญาจ้างแรงงานเท่านั้น
(๒) มีนโยบายให้ยกระดับเรื่องการจ้างงานที่เป็นธรรมให้เป็นวาระแห่งชาติ ดำเนินนโยบายทาง
เศรษฐกิจในระบบการค้าเสรีที่เป็นธรรม หันเหทิศทางการผลิตสินค้าและบริการที่เน้นแรงงานราคาถูก
ตลอดจนทบทวนนโยบายและกฎหมายที่ยังเอื้อต่อการจ้างงานโดยไม่เป็นธรรมในทุกภาคส่วน เช่น
การจ้างงานระยะสั้นทั้งในภาครัฐ ภาคเอกชนและ แรงงานข้ามชาติ การหลบเลี่ยงไม่เข้าระบบกองทุน
ประกันสังคม และกองทุนเงินทดแทนของนายจ้างที่รับเหมาค่าแรง หรือผู้รับเหมาช่วง เป็นต้น
(๓) มีนโยบายให้จัดตั้งองค์กรอิสระด้านการคุ้มครองสุขภาพและความปลอดภัยในการทำงาน
ให้ครอบคลุมคนทำงานทั้งหมดโดยไม่เลือกปฏิบัติ และดำเนินการปฏิรูปกฎหมายว่าด้วยการประกัน
สังคมและเงินทดแทนและการบริหารหรือการบังคับใช้กฎหมายให้สอดคล้องกับหลักการดังกล่าว
(๔) ควรทบทวนนโยบายการจ้างแรงงานข้ามชาติ (แรงงานต่างด้าว)ให้เหมาะสมและสอดคล้อง
กับความจำเป็นที่จะต้องใช้แรงงานกลุ่มนี้ มิใช่คำนึงแต่ความต้องการของผู้ประกอบการเป็นสำคัญ
ทั้งนี้ควรคำนึงถึงผลกระทบต่อสิทธิการมีงานทำหรือความมั่นคงในการทำงานของคนไทยด้วย และจะ
ต้องดำเนินนโยบายให้มีการคุ้มครองแรงงานกลุ่มนี้โดยเท่าเทียมกันและเกิดผลอย่างแท้จริง เพราะ
แรงงานข้ามชาติได้มีส่วนสร้างสรรค์เศรษฐกิจไทยเช่นกัน
(๕) มีนโยบายให้องค์กรแรงงาน เครือข่ายภาคประชาชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วน
ร่วมในการบริหาร การบังคับใช้กฎหมายและการตรวจสอบติดตามเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายและ
ไม่มีการละเมิดสิทธิแรงงาน
(๖) มีนโยบายที่ชัดเจนในอันที่จะยึดถือหลักการสิทธิมนุษยชนและมาตรฐานสิทธิมนุษยชนด้าน
แรงงานเป็นแนวนโยบายแห่งรัฐ เพื่อให้ดำเนินการปกป้องและคุ้มครองคนทำงานและดำเนินการกับ
ผู้ละเมิดสิทธิแรงงานอย่างเด็ดขาดจริงจัง บนพื้นฐานแห่งการเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
(๗) จัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมให้แก่สภาทนายความ องค์กรเอกชน และเครือข่ายสิทธิมนุษย
ชนด้านแรงงาน เพื่อส่งเสริมพัฒนาความรู้ด้านสิทธิแรงงาน การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่องค์กร
แรงงาน และขยายการให้ความช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายให้ทั่วถึง มีประสิทธิภาพและได้รับ
ความเป็นธรรม
(๘) ควรมีนโยบายที่ชัดเจนในเรื่องคนงานไทยไปทำงานต่างประเทศให้มีมาตรการทางกฎหมาย
และมาตรการทางบริหาร ทั้งในด้านการส่งเสริมและพัฒนา เช่น การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารตลาด
แรงงานและข้อมูลที่จำเป็น การพัฒนาทักษะฝีมือ การขจัดระบบนายหน้าที่เอาเปรียบคนงาน กองทุน
เงินกู้เกี่ยวกับอาชีพ การฝึกสอนภาษา สัญญาจ้างงานที่เป็นธรรม การดูแลช่วยเหลือครอบครัวของคน
งานไทยในกรณีที่มีปัญหาที่ประเทศปลายทางและ การสานต่องานที่ทำในต่างประเทศหรือสร้างอาชีพ
รองรับเมื่อคนงานไทยกลับประเทศ
๑๘ สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงาน
Master 2 anu .indd 18 7/28/08 8:39:19 PM