Page 17 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 17

ได้อย่างเสมอภาคและเป็นธรรม
                    เจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารเข้าไปเกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิแรงงานในหลายรูปแบบ  เช่น
              การกดดันให้ลูกจ้างลาออกมิฉะนั้นจะถูกนายจ้างดำเนินคดีอาญา  การตรวจสารเสพติด การพิสูจน์
              โดยเครื่องจับเท็จ และการติดตามความเคลื่อนไหวของผู้นำสหภาพแรงงาน ในบางกรณีเจ้าหน้าที่ฝ่าย
              ปกครองระดับอำเภอมีส่วนร่วมกรณีนายจ้างกดดันสหภาพแรงงาน  เช่น  ให้สถานที่จัดอบรมนอก
              โรงงานโดยไม่ยอมให้แกนนำและสมาชิกสหภาพฯ  เข้าทำงาน  หรือดำเนินคดีและปรับข้อหาแจก
              เอกสารสหภาพฯ หน้าโรงงานริมถนนสาธารณะ ทำให้บ้านเมืองสกปรกหรือไม่เป็นระเบียบ
              	     ด้านนโยบายรัฐบาล ไม่มีนโยบายที่ชัดเจนต่อการจ้างงานที่เปลี่ยนแปลงไป ไม่มีมาตรการการ
              คุ้มครองแรงงานที่มีประสิทธิภาพ เน้นการใช้สิทธิทางศาล ขาดมาตรการทางปกครองหรือมาตรการ

              บริหารเชิงรุกในการแก้ไขปัญหา ไม่ประกาศนโยบายหรือจุดยืนที่ชัดเจนและมาตรการแก้ไขปัญหาที่เป็น
              รูปธรรมในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนด้านแรงงาน ตลอดจนไม่ตอบสนองต่อข้อเรียกร้องของเครือข่าย
              ภาคประชาชนด้านแรงงานเกี่ยวกับนโยบายและกฎหมายด้านแรงงานที่ดำเนินต่อเนื่องมายาวนาน
                    โดยเฉพาะอย่างยิ่ง  ร่างกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานนอกระบบ  การประกันสังคม
              แรงงานนอกระบบ  ร่างกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์  และร่างกฎหมายว่าด้วยสถาบันความ
              ปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน

                    ๓. กลยุทธ์ของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในช่วงห้าปี


              	     กรอบการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน เป็นไปตามที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
              แห่งชาติมอบหมายตามอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ที่เป็นอิสระ ครอบคลุมถึง
              สิทธิมนุษยชนตามรัฐธรรมนูญและพันธกรณีระหว่างประเทศที่ไทยเป็นภาคี  ตรวจสอบการละเมิด
              กฎหมาย และการปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมด้านแรงงานซึ่งมีหลายมิติ แต่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่ง
              ชาติไม่มีอำนาจตรวจสอบหากมีการดำเนินคดีในศาลในประเด็นเดียวกันกับประเด็นที่ร้องเรียน ไม่มีกลไก
              ในการดำเนินการให้เป็นไปตามคำสั่งโดยการเชื่อมโยงกับศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง และศาล
              ยุติธรรม มีแต่การเสนอแนะต่อรัฐบาลและรัฐสภา ซึ่งยังมีอุปสรรคหรือข้อจำกัดในการแก้ไขปัญหาอีกมาก

              	     มาตรการที่สำคัญ  คือการจัดทำรายงานผลการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนเสนอให้
              คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเห็นชอบ และนำไปสู่การตรวจสอบกฎหมายหรือระเบียบที่ขัด
              รัฐธรรมนูญ  หรือกติการะหว่างประเทศที่รัฐบาลไทยให้สัตยาบันแล้ว  ตลอดจนมีข้อเสนอแนะ
              เชิงนโยบายต่อรัฐบาล และการสื่อสารกับสังคมเพื่อการสร้างความตระหนักในสิทธิแรงงาน
                    ดังนั้น คณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน จึงเน้นการเจรจาไกล่เกลี่ยให้คู่กรณีเข้าใจและยอมรับ
              หลักการสิทธิมนุษยชน เพื่ออยู่ร่วมกันอย่างสันติและเป็นธรรม การประสานหน่วยงานภาครัฐและภาค
              ประชาชนเพื่อให้เกิดกลไกในระดับจังหวัดหรือชุมชนในการแก้ไขปัญหาหรือคุ้มครองสิทธิมนุษยชน

              การแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนหรือจัดสัมมนาเพื่อให้สังคมรับทราบเพื่อกระตุ้นให้รัฐบาลสนใจแก้ไข
              ปัญหา และเน้นการร่วมมือเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายภาคประชาชน จึงมีการประชุม
              สัมมนาร่วมกับองค์กรเครือข่ายต่างๆ ด้านแรงงานและองค์กรสิทธิมนุษยชนอย่างต่อเนื่อง

                                                                    และบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน  ๑๗





     Master 2 anu .indd   17                                                                      7/28/08   8:38:49 PM
   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22