Page 16 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 16

พังงา เป็นต้น ห้ามแรงงานข้ามชาติใช้โทรศัพท์มือถือ ห้ามชุมนุมกันเกิน ๕ คน และห้ามออกนอก
              บ้านหรือที่พักอาศัยหลังเวลา ๒๐.๐๐ น. เป็นต้น นับเป็นกลุ่มคนทำงานที่ถูกเลือกปฏิบัติอย่างรุนแรง
              และจดหมายเวียนของจังหวัดสมุทรสาครห้ามกระทั่งการจัดงานประเพณีของกลุ่มนี้

                    ๒. มูลเหตุการละเมิดสิทธิแรงงาน

              	     ด้านนายจ้าง  พบว่า  ปัจจัยการละเมิดด้านหลักมาจากฝ่ายนายจ้างที่ต้องการกำไรสูงสุด
              มุ่งแข่งขันทางการค้าโดยอาศัยแรงงานราคาถูก มุ่งบริหารจัดการทางธุรกิจโดยคำนึงแต่ความอยู่รอดของ
              ธุรกิจฝ่ายเดียว จึงใช้กลยุทธการจ้างงานแบบยืดหยุ่นอย่างแพร่หลายและเพิ่มปริมาณมากขึ้นเรื่อย ๆ

              ส่งผลให้มีการละเมิดสิทธิแรงงานในทุกกลุ่มเป้าหมายและทุกมิติด้านสิทธิแรงงาน และแสดงออกโดย
              แจ้งชัดว่าไม่ต้องการให้ลูกจ้างไปเกี่ยวข้องกับสหภาพแรงงาน และดำเนินการทุกวิถีทางเพื่อสกัดกั้น
              การใช้สิทธิและเสรีภาพในการรวมตัวและการเจรจาต่อรองร่วมของลูกจ้าง ภายใต้การให้คำปรึกษา
              และการวางแผนการใช้ช่องว่าง หรือข้อจำกัดทางกฎหมายของที่ปรึกษาทางธุรกิจและนักกฎหมาย
              	     ด้านกฎหมายและการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ พบว่า กฎหมายด้านแรงงานมีหลายฉบับขาด
              การบูรณาการ กฎหมายบางฉบับหรือบางมาตราไม่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ และกติการะหว่างประเทศ
              เช่น พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๘ ไม่คุ้มครองผู้ริเริ่มก่อการตั้งสหภาพแรงงานและห้าม

              ลูกจ้างที่ไม่มีสัญชาติไทยจัดตั้งหรือเป็นกรรมการสหภาพแรงงานกฎกระทรวงฉบับที่  ๑๐  (พ.ศ.
              ๒๕๔๑) ที่ออกตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ ไม่ใช้บังคับกับกิจการประมงทะเล
              นอกน่านน้ำ พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓ และพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. ๒๕๓๗
              ไม่ใช้บังคับกับลูกจ้างในหลายประเภทกิจการ เช่น งานบ้าน งานเกษตรกรรม งานประมงทะเล เป็นต้น
              	     มีประกาศจังหวัดของหลายจังหวัด ที่เป็นการละเมิดสิทธิแรงงานข้ามชาติอย่างร้ายแรง เช่น
              ประกาศจังหวัดภูเก็ต เรื่อง การจัดระบบในการควบคุมแรงงานต่างด้าว ลงวันที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๔๙
                    เจ้าหน้าที่ตามกฎหมายด้านแรงงาน ตีความกฎหมายแคบ ไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของ
              กฎหมาย ขาดวิธีการทำงานที่มีประสิทธิภาพ เช่น เจ้าหน้าที่สำนักงานประกันสังคมตำหนิลูกจ้าง
              ที่ร้องเรียนความเป็นธรรมต่อหน่วยงานต่าง ๆ ว่าเป็นการทำเรื่องเล็กเป็นเรื่องใหญ่ แนะนำให้ลูกจ้าง

              ลาออกจากงานเพื่อจะได้รับสิทธิการประกันสังคม แต่ไม่ทราบว่าทำให้เสียสิทธิตามกฎหมายฉบับอื่น
              เจ้าหน้าที่สำนักงานประกันสังคมรวบรวมข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเรื่องเงินทดแทนไม่ครบถ้วน
              วินิจฉัยจากเอกสารและพยานฝ่ายนายจ้างเป็นหลัก คณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนซึ่งเป็นกลไก
              ในชั้นอุทธรณ์ ก็ยังขาดกระบวนการในการรวบรวมข้อเท็จจริงที่มีประสิทธิภาพ ทำให้ไม่มีบทบาท
              ตรวจสอบหรือกลั่นกรองคำวินิจฉัยของเจ้าหน้าที่ชั้นต้น  และยังไม่มีแนวทางปฏิบัติที่คุ้มครองเรื่อง
              กองทุนเงินทดแทนต่อแรงงานข้ามชาติอย่างชัดเจน
                    พนักงานตรวจแรงงานไกล่เกลี่ยให้ลูกจ้างรับเงินช่วยเหลือจากนายจ้างโดยไม่คำนึงผลกระทบ

              ต่อความมั่นคงในการทำงาน และสิทธิเสรีภาพในการรวมตัวและการเจรจาต่อรอง โดยเฉพาะคณะ
              กรรมการแรงงานสัมพันธ์ ไกล่เกลี่ยและวินิจฉัยชี้ขาดเรื่องการกระทำอันไม่เป็นธรรม เน้นให้นายจ้าง
              ชดใช้ค่าเสียหายแทนการให้กลับเข้าทำงาน ไม่ช่วยเหลือดูแลให้ลูกจ้างใช้สิทธิในกระบวนการยุติธรรม


        ๑๖    สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงาน





     Master 2 anu .indd   16                                                                      7/28/08   8:38:08 PM
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21