Page 15 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 15

รัฐวิสาหกิจและหน่วยงานของรัฐรูปแบบต่างๆ
                    ในส่วนของรัฐวิสาหกิจยังได้รับผลกระทบจากนโยบายของรัฐในการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ
              การแปลงสภาพของรัฐวิสาหกิจเป็นองค์การมหาชน และไม่อยู่ในบังคับใช้ของกฎหมายแรงงาน มีการ
              จ้างเหมาในรัฐวิสาหกิจอย่างแพร่หลาย  ทำให้กระทบต่อความมั่นคงในการทำงานของลูกจ้างเป็น
              อันมาก  รัฐบาลเลือกปฏิบัติในการจัดสรรงบประมาณสนับสนุนรัฐวิสาหกิจที่สามารถทำประโยชน์
              ทางธุรกิจไม่สนใจดูแลหรือแก้ไขปัญหารัฐวิสาหกิจที่ประสบปัญหาจนต้องปิดกิจการหรือยุบเลิกไป
              ลูกจ้างต้องเดือดร้อนในการเรียกร้องสิทธิตามกฎหมายและตามหลักความเป็นธรรม
              	     ๓) กลุ่มคนทำงานในภาคเศรษฐกิจนอกระบบ  พบว่าไม่มีนิติสัมพันธ์ในการจ้างงานตาม
              สัญญาจ้างแรงงาน จึงไม่อยู่ในบังคับใช้ของกฎหมายด้านแรงงานทั้งหมด อาจเข้าถึงกฎหมายประกัน

              สังคมได้บ้างบางส่วน แต่ต้องจ่ายเงินสมทบเองทั้งหมด ในขณะที่แรงงานในระบบนายจ้างและรัฐ
              ร่วมจ่าย แม้ว่าภาคประชาชนได้เรียกร้องให้มีกฎหมายคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน และมีการประกัน
              สังคมสำหรับแรงงานนอกระบบทั้งหมด แต่รัฐบาลตอบสนองในเรื่องนี้น้อยมาก เนื่องจากรัฐบาลขาด
              ความจริงจังจนไม่มีความคืบหน้าใดๆ
              	     ๔) กลุ่มคนไทยไปทำงานในต่างประเทศ	มีภาระหนี้สิน เนื่องจากต้องเสียค่าใช้จ่ายและค่า
              บริการสูงมากจากระบบบริษัทจัดหางานและนายหน้าที่ไม่มีการควบคุมที่ดี ยังปรากฏการถูกหลอก
              ลวงให้ไปทำงานจำนวนมาก ไม่มีความรู้กฎหมายและภาษาต่างประเทศ นายจ้างมักเปลี่ยนแปลง

              เงื่อนไขการจ้างและค่าตอบแทน แต่แรงงานไม่มีทางเลือกจำยอมรับเงื่อนไขใหม่ที่ไม่เป็นธรรม ทำงาน
              หนักและถูกเอาเปรียบ มีสภาพความเป็นอยู่ที่เลวร้าย และตกอยู่ในระบบการจ้างเหมาเช่นเดียวกัน
                    ไม่มีหน่วยงานภาครัฐของไทยที่ทำหน้าที่สำรวจสภาพปัญหา รับเรื่องราวร้องทุกข์ และแก้ไข
              ปัญหาให้ทันท่วงที ในกรณีที่มีข้อขัดแย้งหรือไม่ได้รับค่าจ้างและสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ทำให้ครอบครัว
              ที่ประเทศไทยได้รับความเดือดร้อนเป็นอันมาก ซึ่งรัฐบาลยังไม่มีมาตรการที่ชัดเจนในการช่วยเหลือ
              จนเป็นภาระหนี้สินจำนวนมากในชนบท
              	     ๕) กลุ่มแรงงานข้ามชาติ เป็นกลุ่มแรงงานที่ถูกละเมิดสิทธิตามกฎหมายด้านแรงงานมากที่สุด
              กล่าวคือ ไม่ได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ ไม่ได้รับการ
              ประกันสังคม ต้องซื้อหลักประกันสุขภาพเอง เข้าไม่ถึงกองทุนเงินทดแทน ไม่มีสิทธิในการจัดตั้งและ

              เป็นกรรมการสหภาพแรงงาน แม้มีสิทธิยื่นข้อเรียกร้องต่อนายจ้างและใช้สิทธินัดหยุดงานตามพระราช
              บัญญัติแรงงานสัมพันธ์  พ.ศ.  ๒๕๑๘  แต่จะถูกเลิกจ้างหรือถูกจับส่งกลับประเทศต้นทางในทันที
              และกลุ่มที่ถูกนายจ้างเอาเปรียบแต่ไม่ได้จดทะเบียนตามกฎหมาย ยิ่งมีโอกาสได้รับความคุ้มครอง
              น้อยที่สุด เพราะจะถือเป็นคนผิดกฎหมาย ต้องส่งกลับทันที
                    กลุ่มนี้เป็นแรงงานที่อยู่ในระบบการจ้างงานระยะสั้นที่มีกำหนดเวลาไม่เกิน  ๑  ปี  ตามมติ
              คณะรัฐมนตรี และอยู่ในระบบการจ้างเหมาช่วงที่ซับซ้อน ยากแก่การบังคับใช้กฎหมายเพื่อเอาผิดกับ
              ผู้รับเหมาชั้นต้นหรือผู้รับเหมาช่วงในลำดับต้น อยู่ในสาขาการผลิตที่กฎหมายด้านแรงงานคุ้มครอง

              น้อยที่สุดหรือไม่คุ้มครองเลย เช่น งานเกษตรกรรม งานประมงทะเล งานก่อสร้าง และงานบ้าน
                    แรงงานกลุ่มนี้  รัฐบาลเห็นว่าเป็นกลุ่มที่ล่อแหลมต่อความมั่นคงของประเทศ  รัฐบาลจึงใช้
              มาตรการควบคุมต่างๆ อย่างเข้มงวด ตลอดจนมีการออกประกาศจังหวัดภูเก็ต ระนอง ระยอง และ


                                                                    และบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน  ๑๕





     Master 2 anu .indd   15                                                                      7/28/08   8:37:36 PM
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20