Page 39 - มาตรฐานและการปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชน สำหรับเจ้าหน้าที่ตำรวจ : คู่มือสิทธิมนุษยชน ฉบับขยายความ สำหรับเจ้าหน้าที่ตำรวจ
P. 39
• สร้างกลไกที่มีประสิทธิผลเพื่อสร้างความเชื่อมั่นในเรื่องของระเบียบวินัยภายในและการควบคุมภายนอก
ตลอดจนการกำกับดูแลเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมายอย่างมีประสิทธิผล
• เจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมายจะต้องรายงานเหตุการณ์ เมื่อมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการละเมิดเกิดขึ้น
หรือกำลังจะเกิดขึ้น
• จะต้องมีระเบียบการรับเรื่องราวร้องทุกข์ และกระบวนการตรวจสอบการกระทำของเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้
กฎหมาย ซึ่งประชาชนเป็นผู้ร้องทุกข์ และต้องเผยแพร่ระเบียบดังกล่าวต่อสาธารณะ
• การสืบสวนสอบสวนเรื่องการละเมิด จะต้องกระทำโดยทันทีอย่างเต็มความสามารถ ครบถ้วน และ
เป็นกลาง
• การสืบสวนสอบสวน ต้องพยายามระบุตัวผู้เสียหาย ค้นหาและเก็บรักษาพยานหลักฐาน ค้นหาพยาน
บุคคล และสาเหตุ ลักษณะการกระทำ สถานที่ และเวลาเกิดเหตุ เพื่อระบุตัวและจับกุมผู้กระทำความผิด
• การตรวจสอบสถานที่เกิดเหตุต้องเป็นไปอย่างรอบคอบระมัดระวัง
• ผู้บังคับบัญชาจะต้องรับผิดชอบต่อการกระทำโดยมิชอบ หากว่าผู้บังคับบัญชารู้หรือควรรู้ถึงการกระทำนั้น
แต่ไม่กระทำการใดๆ ตามอำนาจหน้าที่
• เจ้าหน้าที่ตำรวจย่อมได้รับความคุ้มครองให้ไม่ต้องถูกฟ้องร้องดำเนินคดี หรือถูกดำเนินการทางวินัย
ในกรณีปฏิเสธที่จะปฏิบัติตามคำสั่งที่มิชอบด้วยกฎหมายของผู้บังคับบัญชา
• การเชื่อฟังและปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ไม่สามารถยกเป็นข้อต่อสู้สำหรับการละเมิดที่กระทำ
โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ
การปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชน
ผู้บังคับบัญชาและหัวหน้าหน่วยงาน
• ออกระเบียบปฏิบัติงานประจำที่ชัดเจน และจัดให้มีการฝึกอบรมอย่างสม่ำเสมอในเรื่องการให้ความ
คุ้มครองสิทธิมนุษยชนของบุคคลทั้งปวงที่มาติดต่อกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ เน้นย้ำต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจทุกคน
ถึงสิทธิและหน้าที่ในการที่จะไม่ปฏิบัติตามคำสั่งที่มิชอบด้วยกฎหมายของผู้บังคับบัญชา และต้อง
รายงานการออกคำสั่งที่มิชอบด้วยกฎหมายดังกล่าวนั้นให้ผู้บังคับบัญชาชั้นเหนือกว่าทราบในทันที
• ย้ายเจ้าหน้าที่ซึ่งมีส่วนพัวพันกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนให้พ้นจากหน้าที่ในระหว่างรอผลการสอบสวน
ถ้าพบว่ามีการกระทำผิดจริง (ภายหลังการพิจารณา) เจ้าหน้าที่ดังกล่าวจะต้องถูกดำเนินคดีทั้งทางอาญา
และทางวินัย แต่หากพบว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ เจ้าหน้าที่ดังกล่าวเป็นอันพ้นมลทิน และต้องได้รับคืน
สิทธิประโยชน์ทั้งปวง
• ให้นโยบาย และออกคำสั่งที่สอดคล้องกับนโยบายให้ชัดเจน ให้มีการเปิดเผยข้อมูล และความร่วมมือจาก
เจ้าหน้าที่ตำรวจทุกคน ทั้งการสอบสวนที่เป็นอิสระและการสอบสวนภายใน
• กำหนดบทลงโทษขั้นร้ายแรงและบังคับใช้อย่างเข้มงวด สำหรับการแทรกแซงหรือการไม่ให้ความร่วมมือ
ต่อการดำเนินการสอบสวนที่เป็นอิสระ และการสอบสวนภายใน
• ตรวจสอบทบทวนอย่างสม่ำเสมอถึงประสิทธิผลของสายการบังคับบัญชาภายในหน่วยงาน และต้อง
จัดการปรับปรุงแก้ไขสายการบังคับบัญชาในจุดที่พบว่ามีข้อบกพร่องทันที
• มีแนวทางการปฏิบัติที่ชัดเจน ในเรื่องการเตรียมเอกสารรายงาน การรวบรวมและเก็บรักษาพยานหลักฐาน
รวมทั้งกระบวนการคุ้มครองความลับของพยานบุคคล
37