Page 33 - สรุปผลการดำเนินงานโครงการจัดงานวันสตรีสากล 8 มีนาคม หัวข้อ การประกาศเกียรติยศสตรีนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ประจำปี 2562
P. 33
จัดที่พักพิงชั่วคราวที่มีอาหารฮาลาล ตลอดจนท�างานร่วมกับแกนน�าผู้หญิงและเด็กหญิง
พม่ามุสลิมในชุมชน เพื่อให้ความรู้และสร้างความตระหนักเรื่องความรุนแรงต่อผู้หญิง
นอกจากนั้น ยังได้สร้างความร่วมมือกับผู้น�าชุมชน และผู้น�าศาสนา เพื่อเป็น
แนวร่วมในการช่วยเหลือผู้หญิงและเด็กชาวพม่ามุสลิมที่ถูกกระท�ารุนแรงให้เข้าถึง
การคุ้มครอง ตามกฎหมายและตามหลักศาสนาอิสลาม เนื่องจากความรุนแรง
ในครอบครัวเป็นปัญหาที่ผู้หญิงมุสลิมต้องเผชิญมานานและมีความซับซ้อนด้วยเหตุ
แห่งวัฒนธรรม ประเพณี และความเชื่อที่ไม่ถูกต้องทางศาสนา จึงเป็นอุปสรรค
ส�าคัญในการเข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิง
ข้อท้าทาย
มูลนิธิผู้หญิงประสบกับข้อท้าทายในการช่วยเหลือผู้หญิงและเด็กชาวพม่า
มุสลิมผู้ประสบความรุนแรง ทั้งความรุนแรงในครอบครัวและความรุนแรงทางเพศ
ซึ่งหน่วยงานรัฐและสถาบันศาสนายังไม่มีแนวทางที่ชัดเจนในการช่วยเหลือคุ้มครอง
สิทธิตามกฎหมาย จนท�าให้เกิดข้อสังสัยว่าการบังคับใช้กฎหมายบางกรณีสามารถ
กระท�าได้หรือไม่ เช่น การใช้มาตรการคุ้มครองชั่วคราวห้ามสามีที่ใช้ความรุนแรง
เข้าใกล้ภรรยาและลูก การบังคับให้สามีส่งเสียเลี้ยงดูบุตร หรือกรณีภรรยาที่ถูกสามี
ท�าร้ายต้องการหย่าขาดจากสามี และการด�าเนินคดีกรณีละเมิดทางเพศที่เกิดขึ้น
ในครอบครัว เป็นต้น
ที่ผ่านมา ผู้หญิงพม่ามุสลิมตลอดจนสมาชิกในชุมชนในพื้นที่ไม่ทราบว่า
ความรุนแรงในครอบครัวเป็นความผิดตามกฎหมาย นอกจากนั้นยังมีการน�าหลัก
อิสลามที่ขาดความยืดหยุ่นมาใช้ตัดสินข้อพิพาทหรือแก้ไขปัญหาความรุนแรง
ในครอบครัวอย่างไม่เป็นทางการแทนที่หลักกฎหมาย ในขณะที่การเข้าถึงบริการ
และความช่วยเหลือตามกฎหมายมีเงื่อนไขว่าผู้เสียหายต้องไปแจ้งความร้องทุกข์
เป็นคดีอาญาเสียก่อน จึงส่งผลให้ผู้หญิงมุสลิมที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน และ
ได้รับความรุนแรงในครอบครัวไม่สามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้
การท�างานเจ้าหน้าที่ของมูลนิธิผู้หญิงต้องเผชิญกับความยากล�าบากอย่างมาก
ทั้งการถูกข่มขู่คุกคามจากคนในครอบครัวผู้เสียหาย หรือความยากล�าบากในการหา
พยาน รวมถึงเจ้าหน้าที่ต�ารวจบางคนมีทัศนคติว่าความรุนแรงในครอบครัวเป็นเรื่อง
๓๒ การประกาศเกียรติยศผู้หญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ประจ�าปี ๒๕๖๒
01-96_ok.indd 32 29/8/2562 14:05:23