Page 30 - สรุปผลการดำเนินงานโครงการจัดงานวันสตรีสากล 8 มีนาคม หัวข้อ การประกาศเกียรติยศสตรีนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ประจำปี 2562
P. 30

เครือข่ายสตรีม้งในประเทศไทย
                   ผู้หญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชนกลุ่มชาติพันธุ์























                      “เครือข่ายสตรีม้งในประเทศไทย” เกิดจากการประชุมแลกเปลี่ยนประสบการณ์
                ของผู้หญิงม้งหลายจังหวัดจ�านวนนับพันคน ซึ่งพบปัญหาเกี่ยวกับความรุนแรง
                ในครอบครัวหลายรูปแบบที่เกิดจากวัฒนธรรม ประเพณีและความเชื่อท้องถิ่น
                ต่อผู้หญิง เช่น การให้ความส�าคัญลูกชายมากกว่าลูกสาว การเลือกปฏิบัติทั้งด้าน
                ร่างกายและจิตวิญญาณต่อผู้หญิงที่หย่าร้าง ผู้หญิงหม้าย แม่เลี้ยงเดี่ยว รวมถึงเด็ก
                ที่เกิดจากแม่เลี้ยงเดี่ยว ทั้งนี้ ปัญหาหลักอย่างหนึ่งที่ผู้หญิงม้งต้องเผชิญ คือ ระบบ
                จารีตประเพณีตามความเชื่อที่ว่า “ผู้หญิงต้องอาศัยผู้ชายเท่านั้น” เมื่อลูกสาว

                แต่งงานแล้วให้ย้ายออกจากผีเรือนและแซ่ (ตระกูล) ของพ่อไปเป็นสมาชิกของ
                ผีเรือนและแซ่ของสามีแทน  เมื่อใดก็ตามที่เกิดปัญหาครอบครัว เช่น  การหย่าร้าง
                ผู้หญิงต้องเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยว ผู้หญิงจะถูกปฏิเสธจากแซ่ของสามี และไม่สามารถกลับ
                มาเป็นสมาชิกในผีเรือนและแซ่เดิมได้อีก ส่งผลให้ผู้หญิงและเด็กจ�านวนหนึ่งประสบ
                ปัญหาเป็นคนไร้ผีเรือนและแซ่ตระกูล  ท�าให้ผู้หญิงกลุ่มนี้พบความยากล�าบาก
                ในการด�าเนินชีวิต รวมถึงผลกระทบทางด้านจิตใจ นอกจากนั้น หากครอบครัวใด
                ไม่มีลูกชาย ลูกสาวที่แต่งงานแล้วก็ไม่สามารถดูแลพ่อแม่ได้เต็มที่



                                                การประกาศเกียรติยศผู้หญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ประจ�าปี ๒๕๖๒ ๒๙



        01-96_ok.indd   29                                                   29/8/2562   14:05:23
   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35