Page 36 - สรุปผลการดำเนินงานโครงการจัดงานวันสตรีสากล 8 มีนาคม หัวข้อ การประกาศเกียรติยศสตรีนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ประจำปี 2562
P. 36

เพื่อแรงงานไทยและคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย โดยเป็นผู้ประสานงาน
                ด้านการจัดตั้งสหภาพแรงงานและเจ้าหน้าที่ภาคสนามตั้งแต่ปี ๒๕๔๕ - ๒๕๕๘
                      สุธาสินี พยายามเรียกร้องให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในประเด็นผู้หญิงแรงงาน
                หรือผู้น�ากลุ่มศาสนา ให้สามารถเชื่อมร้อยเข้าด้วยกัน เพื่อส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้น
                ในสังคม  ในช่วงที่เธอยังเป็นประธานสหภาพแรงงาน  เธอและแรงงานหญิงร่วมกัน
                เรียกร้องให้วันสตรีสากลหรือวันที่ ๘ มีนาคมของทุกปี เป็นวันหยุดของโรงงาน
                นายจ้างก็อนุมัติและสนับสนุน เพราะในวันดังกล่าวแรงงานหญิงจะขอลาหยุด

                เพื่อเข้าร่วมกิจกรรมและออกแถลงการณ์ร่วมกัน ซึ่งเป็นสหภาพแรงงานแรก
                ในประเทศไทยที่แรงงานหญิงออกมาเรียกร้อง จึงส่งผลให้แรงงานหญิงในโรงงาน
                อีกโรงงานหนึ่งออกมาเรียกร้องให้วันที่  ๘  มีนาคมของทุกปี  เป็นวันหยุดของโรงงาน
                เช่นกัน ท้ายที่สุดโรงงานยอมประกาศให้วันสตรีสากลเป็นวันหยุดของทุกปี
                      ปัจจุบัน สุธาสินีท�างานเป็นผู้ประสานงานของเครือข่ายเพื่อสิทธิแรงงานข้ามชาติ
                (Migrant  Worker  Rights  Network)  เธอท�างานกับพี่น้องแรงงานเพื่อให้เกิด
                การจัดตั้งสหภาพแรงงานขึ้นในโรงงาน หาเครื่องมือหรือคู่มือด้านกฎหมายสิทธิแรงงาน

                สิทธิมนุษยชน ให้พี่น้องแรงงานสามารถเข้าถึงและได้รับการอบรมให้ความรู้
                โดยผ่านการท�ากิจกรรม การลงมือปฏิบัติ มีการแปลเอกสารตามภาษาของแรงงาน
                แต่ละประเทศ หรือแรงงานเองสามารถที่จะบอกความต้องการที่จะให้อบรมได้
                เพราะเมื่อแรงงานมีความรู้ความเข้าใจ ย่อมสามารถที่จะถ่ายทอดให้เพื่อนแรงงาน
                และเกิดความมั่นใจสามารถเจรจาต่อรองกับนายจ้าง เธอและเครือข่ายเพื่อสิทธิแรงงาน
                ข้ามชาติยังท�างานร่วมกับส�านักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดลพบุรี
                เพื่อพูดคุยประเด็นปัญหา ตรวจสอบ และแก้ไขปัญหาร่วมกัน ในกรณีแรงงาน
                ฟาร์มไก่แห่งหนึ่งในจังหวัดลพบุรี ที่อาจจะถูกละเมิดสิทธิหรือไม่ได้รับความเป็นธรรม
                ส�านักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดลพบุรี จึงด�าเนินการตรวจสอบฟาร์มไก่

                แห่งนั้น  จนกระทั่งศาลฏีกามีค�าพิพากษายืนตามค�าสั่งของกองสวัสดิการและคุ้มครอง
                แรงงานจังหวัดลพบุรีสั่งให้ฟาร์มไก่ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่แรงงานจ�านวน ๑๔ คน
                กรณีไม่จ่ายค่าจ้าง และส่งผลให้เพื่อนแรงงานได้ค่าจ้างขั้นต�่า ค่าท�างานล่วงเวลา
                ส่งผลให้เกิดการตรวจสอบการท�างานของแรงงานในฟาร์มไก่ทั่วประเทศไทย และ



                                                การประกาศเกียรติยศผู้หญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ประจ�าปี ๒๕๖๒ ๓๕



        01-96_ok.indd   35                                                   29/8/2562   14:05:23
   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41