Page 37 - สรุปผลการดำเนินงานโครงการจัดงานวันสตรีสากล 8 มีนาคม หัวข้อ การประกาศเกียรติยศสตรีนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ประจำปี 2562
P. 37

กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) ได้มีแนวปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดี (Good
              Labour Practices : GLP) ไปใช้ในการบริหารจัดการแรงงาน เพื่อเป็นแนวทาง
              การปรับปรุงสภาพการจ้างและสภาพการท�างานเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตลูกจ้างและ
              เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางการค้า โดยส่งเสริมสถานประกอบกิจการ
              กลุ่มอุตสาหกรรมสัตว์ปีก ในการประชุมเรื่องธุรกิจและสิทธิมนุษยชน เธอมีข้อเสนอ
              ให้แรงงานเกิดการรวมตัว เนื่องจากการรวมตัวเป็นหลักสิทธิมนุษยชนที่สามารถ
              กระท�าได้ เพื่อที่จะลดการขัดแย้งและความวุ่นวายขึ้นในสังคม และต้องการให้

              ประเทศไทยให้สัตยาบันต่ออนุสัญญาขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ ๘๗
              ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคม และฉบับที่ ๙๘ ว่าด้วยสิทธิในการรวมตัวและเจรจาต่อรอง
                    ผลที่ได้รับจากการท�างานอบรมเรื่องสิทธิแรงงาน แรงงานสามารถที่จะมี
              การเจรจาต่อรองกับนายจ้างให้เกิดสิทธิเท่าเทียมกันระหว่างแรงงานไทยและแรงงาน
              ข้ามชาติ เช่น บริษัทแห่งหนึ่งมีการจัดงานปีใหม่ และอนุญาตให้เฉพาะแรงงานไทย
              เข้าร่วม ซึ่งแรงงานข้ามชาติเห็นว่า เขาก็มีสิทธิที่จะได้เข้าร่วมในฐานะที่เป็นพนักงาน
              คนหนึ่งของบริษัท จึงมีการเจรจากับนายจ้าง ส่งผลให้แรงงานข้ามชาติสามารถเข้าร่วม

              กิจกรรมดังกล่าวได้ และเธอพยายามหาช่องทางให้แรงงานข้ามชาติสามารถที่จะตั้ง
              สหภาพแรงงานขึ้นได้ ซึ่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ เป็นจุดเริ่มต้น
              ตามมาตรา ๙๖ “ในสถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ห้าสิบคนขึ้นไปให้นายจ้าง
              จัดให้มีคณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการ…” โดยให้แรงงานข้ามชาติ
              สามารถที่จะได้รับเลือกให้เป็นคณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบการได้
              ซึ่งปัจจุบันมีโรงงานเพียงไม่กี่แห่งเริ่มให้แรงงานข้ามชาติได้เป็นคณะกรรมการ
              ดังกล่าว หากประเทศไทยให้สัตยาบันต่ออนุสัญญาขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ
              ฉบับที่ ๘๗ และฉบับที่ ๙๘ จะส่งผลให้แรงงานข้ามชาติสามารถตั้งสหภาพ
              แรงงานขึ้นได้

                    หลายครั้งที่สุธาสินีต้องเผชิญการถูกคุกคามจากงานที่ท�า ทั้งจากเจ้าหน้าที่
              ของรัฐและเอกชน ทั้งการคุกคามด้วยวาจา เช่น การขู่ท�าร้าย การถูกติดตามระหว่าง
              ทางที่ก�าลังกลับที่พักในช่วงเวลากลางคืน จนท�าให้เธอต้องเปลี่ยนเวลาในการกลับบ้าน
              รวมถึงการฟ้องร้องด�าเนินคดีเพื่อให้เธอยุติการเรียกร้องเพื่อปกป้องสิทธิประโยชน์
              ของแรงงาน

            ๓๖  การประกาศเกียรติยศผู้หญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ประจ�าปี ๒๕๖๒



        01-96_ok.indd   36                                                   29/8/2562   14:05:23
   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42