Page 31 - สรุปผลการดำเนินงานโครงการจัดงานวันสตรีสากล 8 มีนาคม หัวข้อ การประกาศเกียรติยศสตรีนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ประจำปี 2562
P. 31
เครือข่ายสตรีม้งในประเทศไทย ได้ทบทวนบทเรียนการท�างานสิบปีที่ผ่านมา
โดยศึกษาวิจัยด้วยตัวเองและได้รับการสนับสนุนจากแผนงานสุขภาวะผู้หญิง
และความเป็นธรรมทางเพศของส�านักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
(สสส.) ซึ่งได้ข้อค้นพบสิ่งส�าคัญที่เป็นกุญแจไขปริศนาทางความเชื่อธรรมเนียมปฏิบัติ
ดังกล่าวด้วยการท�า “พิธีกรรมผู่ (phum)” หรือโครงการรับลูกสาวกลับบ้าน
โดยเครือข่ายฯ ท�างานร่วมกับผู้อาวุโสชายที่เป็นผู้น�าทางพิธีกรรม ผู้รู้ประเพณีปฏิบัติ
ผู้น�าท้องถิ่นที่เข้าใจปัญหา รวมถึงผู้เป็นพ่อที่มีลูกสาวประสบปัญหา และกลุ่มผู้หญิง
ที่ประสบปัญหาโดยตรง เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางทัศนคติและความเชื่อทาง
ประเพณีเพื่อให้เกิดความเสมอภาคทางเพศต่อผู้หญิงม้ง โดยการต่อสู้ของผู้หญิงม้ง
เป็นการต่อสู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงโดยยึดหลักสันติวิธี
ในปี ๒๕๕๗ - ๒๕๕๘ มีรายงานคณะนักวิจัยซึ่งได้ท�าการศึกษาปัญหาชุมชน
ชาวม้งในพื้นที่ต่าง ๆ มีการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวางโดยทั่วไปว่า สังคมชาย
เป็นใหญ่สุดขั้วนั้น การที่ผู้หญิงลุกขึ้นมาพูดปัญหาของตัวเองไม่ใช่เรื่องง่าย โดยการ
ถูกตักเตือนจากผู้น�าว่า ไม่ให้น�า “ความควายเข้า” และไม่ให้น�า “ความวัวออก”
ต่อมาในปี ๒๕๕๙ - ๒๕๖๑ มีครอบครัวที่น�าพิธีกรรมผู่ไปใช้จ�านวนมาก
(ปัจจุบันผู้หญิงมากกว่า ๕๐ ครอบครัวที่เข้าร่วมพิธีนี้) และมีหนึ่งตระกูลแซ่
ที่ประกาศใช้พิธีกรรมผู่อย่างเป็นทางการ มีสองตระกูลแซ่ประกาศใช้ในกลุ่มย่อยของ
ตนเอง และเดือนกันยายน ๒๕๖๐ เครือข่ายสตรีม้งฯ ได้ร่วมกับองค์กรชาวม้ง
เช่น สมาคมม้ง เครือข่ายตระกูลม้ง (เครือข่าย ๑๘ แซ่) ชมรมม้งต่าง ๆ องค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีชาวม้งเป็นผู้น�า เป็นต้น ร่วมกันผลักดันให้น�า “พิธีกรรมผู่”
ไปใช้กับชุมชนชาวม้งอย่างเป็นรูปธรรม โดยผู้น�าม้งกลุ่มต่าง ๆ ได้ร่วมลงลายมือชื่อ
บันทึกความเข้าใจ (MOU) ร่วมกันเพื่อเป็นหลักฐาน
๓๐ การประกาศเกียรติยศผู้หญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ประจ�าปี ๒๕๖๒
01-96_ok.indd 30 29/8/2562 14:05:23