Page 28 - สรุปผลการดำเนินงานโครงการจัดงานวันสตรีสากล 8 มีนาคม หัวข้อ การประกาศเกียรติยศสตรีนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ประจำปี 2562
P. 28

ในเขตต์จังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสตูล พ.ศ. ๒๔๘๙ ซึ่งมีบทบัญญัติให้
                ศาลชั้นต้นสามารถใช้กฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดกในการพิจารณา

                คดีแพ่งเกี่ยวกับคดีครอบครัวและมรดก โดยไม่จ�าเป็นต้องใช้ประมวลกฎหมายแพ่ง
                และพาณิชย์ โดยให้มีดะโต๊ะยุติธรรมปฏิบัติหน้าที่ร่วมกับผู้พิพากษาศาลชั้นต้น
                ในการพิจารณาและวินิจฉัยชี้ขาดคดีครอบครัวและมรดก และเปิดโอกาสให้ศาลสามารถ
                ตีความหลักการของกฎหมายอิสลามที่เกี่ยวข้อง  เพื่อน�ามาบังคับใช้กับคดีครอบครัว
                มรดกและให้การตัดสินในชั้นนี้เป็นที่สิ้นสุด (มาตรา ๔) ดังนั้นหากดะโต๊ะยุติธรรม
                วินิจฉัยข้อกฎหมายอิสลามผิดพลาดไป คู่ความไม่สามารถอุทธรณ์ ฎีกา อันอาจ
                ท�าให้เกิดความเสียหายได้
                      นอกจากนั้นยังพบว่า ในการเข้าถึงความยุติธรรมของหญิงมลายูมุสลิมในจังหวัด
                ชายแดนภาคใต้ มีจ�านวนน้อยมากที่คดีความรุนแรงด้วยเหตุแห่งเพศถูกน�าขึ้นสู่

                การพิจารณาของศาล อีกทั้งตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการบังคับใช้กฎหมายอิสลามฯ
                มาตรา ๓ ก�าหนดให้ใช้กฎหมายอิสลามวินิจฉัยคดีแพ่งเกี่ยวด้วยเรื่องครอบครัวและ
                มรดกของอิสลามที่เฉพาะคดีที่ขึ้นสู่ศาลเท่านั้น จึงอาจท�าให้กฎหมายอิสลามใช้ได้ใน
                ศาลเท่านั้น เป็นการใช้เฉพาะการตัดสินคดีในศาล แต่ไม่ผูกพันถึงการปฏิบัติของ
                เจ้าหน้าที่ฝ่ายอื่น คือ เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง เจ้าหน้าที่ที่ดิน อาจไม่ยอมรับกฎหมาย
                อิสลามในเรื่องการสมรส การสิ้นสุดการสมรส และการแบ่งมรดกเป็นผลให้ผู้หญิงมุสลิม
                ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ส่วนใหญ่เข้าไม่ถึงความยุติธรรม และต้องเผชิญกับปัญหา

                นานาประการโดยที่ไม่มีมาตรการและแนวทางในการคุ้มครอง ช่วยเหลือเยียวยา
                แก่ผู้หญิงที่เผชิญความรุนแรงในรูปแบบต่าง ๆ อย่างเป็นรูปธรรมนอกจากระบบยุติธรรม
                ในศาล ยังมีกลไกในระดับผู้น�าศาสนาและผู้น�าชุมชนซึ่งมักเป็นผู้ชาย จึงอาจไม่เข้าใจ
                ในปัญหาต่าง ๆ ที่ผู้หญิงต้องเผชิญอย่างเพียงพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความรุนแรง
                ต่อผู้หญิงอันเนื่องมาจากฐานคิดเรื่องเพศสภาพ อีกทั้งการที่ผู้หญิงมุสลิมในจังหวัด
                ชายแดนภาคใต้ส่วนใหญ่ไม่มีความรู้เกี่ยวกับหลักศาสนาเพียงพอที่จะเรียกร้องความ
                ยุติธรรมให้ตนเอง จึงท�าให้เป็นอุปสรรคส�าคัญในการเข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิง






                                                การประกาศเกียรติยศผู้หญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ประจ�าปี ๒๕๖๒ ๒๗



        01-96_ok.indd   27                                                   29/8/2562   14:05:22
   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33