Page 124 - รายงานผลการศึกษาวิจัย ฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยเพื่อการปรับปรุงแก้ไขนโยบายกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านที่ดินและป่า
P. 124

และเนื่องจากมาตรา 27 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 ได้กําหนดให้สิทธิ
                       และเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญรับรองโดยชัดแจ้ง ย่อมได้รับความคุ้มครองจากองค์กรของรัฐ โดยในกรณีนี้
                       สิทธิชุมชนซึ่งได้ถูกรับรองไว้โดยชัดแจ้งในมาตรา 66 และมาตรา 67 ของรัฐธรรมนูญแห่ง

                       ราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 และยังถูกรับรองไว้ในคําพิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญและศาลปกครอง
                       อีกหลายคดีว่าสิทธิชุมชนที่รับรองในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยนั้น มีผลบังคับใช้โดยทันที จึง
                       ถือได้ว่าสิทธิชุมชนต้องได้รับความคุ้มครองทั้งในการตรากฎหมาย การใช้บังคับกฎหมาย และการ

                       ตีความกฎหมายของหน่วยงานของรัฐต่าง ๆ ด้วยโดยทันทีเช่นกัน
                                                                      ่
                              ดังนั้น แม้บทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยการปาไม้ จะมิได้เอื้ออํานวยต่อการใช้สิทธิของ
                       ชุมชนอย่างเพียงพอและยั่งยืนและทําให้รัฐมีทัศนคติที่ไม่ถือเป็น “หน้าที่ตามกฎหมาย” ที่ต้องรับรอง

                       และคุ้มครองสิทธิชุมชนอย่างเคร่งครัดและเท่าเทียมกับหน้าที่ในการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติใน
                       ฐานะสมบัติของรัฐ แต่หากพิจารณาตามบทบัญญัติมาตรา 27 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
                       พ.ศ. 2550 ก็ถือได้ว่ารัฐธรรมนูญได้กําหนดให้เจ้าหน้าที่รัฐต้องถือเป็นหน้าที่โดยทันทีนับตั้งแต่

                       รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มีผลบังคับใช้ในการรับรองและคุ้มครองสิทธิชุมชนทั้ง
                       ในการใช้และการตีความกฎหมาย และเจ้าหน้าที่รัฐก็มิอาจปฏิเสธหน้าที่ในการรับรองและคุ้มครองสิทธิ
                       ชุมชนได้ เพราะหน้าที่ดังกล่าวนั้นได้ถูกกําหนดไว้อย่างชัดแจ้งในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

                       พ.ศ. 2550 อันเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐ
                               ั
                              ปญหาขอบเขตของสิทธิชุมชน ในหลักกฎหมายทั่วไปนั้น “สิทธิ” คือความชอบธรรมที่บุคคล
                       อาจใช้ยันกับผู้อื่น เพื่อคุ้มครองหรือรักษาผลประโยชน์อันเป็นส่วนที่พึงได้ของบุคคลนั้น หรือกล่าวอีก

                       นัยหนึ่งคือ สิทธิคือประโยชน์ที่บุคคลมีความชอบธรรมที่จะได้รับ ดังนั้น ในทางกลับกัน การดําเนินการ
                       ใด ๆ เพื่อให้ได้รับประโยชน์ที่นอกเหนือจากที่ตนควรได้รับตามกฎหมาย ในกรณีนี้กฎหมายก็จะไม่
                       รับรองและคุ้มครองให้ ดังนั้น สิ่งที่“กฎหมายรับรองและคุ้มครอง” จึงเป็น “ขอบเขตของการใช้สิทธิ”

                              แต่เนื่องจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ไม่ได้กําหนดรายละเอียดของสิทธิ
                                                                               ั
                       ชุมชนเอาไว้ว่า มีลักษณะหรือขอบเขตของสิทธิชุมชนอย่างไร จึงมีปญหาตามมาว่าสิทธิชุมชนในการ
                                                   ่
                       จัดการและใช้ประโยชน์ทรัพยากรปาไม้มีขอบเขตอย่างไร โดยจากการศึกษาพบว่า ในเรื่องนี้มีแนวคิด
                       ที่เป็นหลักการอยู่ 2 อย่าง กล่าวคือ แนวคิดการเปรียบเทียบระหว่างสิทธิดั้งเดิมของชุมชนท้องถิ่น
                       ดั้งเดิมกับสิทธิมีส่วนร่วมของบุคคลทั่วไป และแนวคิดสิทธิเชิงซ้อน (Complexity of Rights)
                              โดยเมื่อพิจารณาเปรียบเทียบทั้ง 2 แนวคิด จะเห็นว่ามีความคล้ายคลึงกัน และอาจกล่าวได้

                       ว่าแนวคิดคิดสิทธิเชิงซ้อนคือการตอบคําถามแนวคิดแรกที่ต้องเลือกระหว่างสิทธิดั้งเดิมของชุมชนกับ
                       สิทธิของบุคคลทั่วไป เพราะหลักการจัดการในการควบคุมและกําหนดการใช้ประโยชน์

                       ทรัพยากรธรรมชาติอย่างเป็นธรรมภายใต้แนวคิดสิทธิเชิงซ้อนนั้น ไม่ได้ละเลยประโยชน์สาธารณะที่
                       บุคคลทั่วไปควรได้รับและยังให้รัฐเป็นผู้ดูแลประโยชน์สาธารณะให้ตกแก่บุคคลทั่วไปโดยทั่วถึงอย่างที่
                       เคยเป็นมาอีกด้วย เพียงแต่ตอกยํ้าให้รัฐต้องตระหนักว่าในพื้นที่เดียวกันนั้นยังมีชุมชนที่ใช้ประโยชน์
                       ทรัพยากรธรรมชาติอยู่ด้วย และที่สําคัญทรัพยากรธรรมชาตินี้มีคุณค่าในฐานะที่เป็นรากฐานในการ

                       ดํารงชีพของชุมชน หรือหากกล่าวให้ชัดก็คือมีความสําคัญต่อการดํารงชีวิตอยู่ในฐานะมนุษย์ของ
                       ชาวบ้านคนหนึ่งในชุมชนด้วยเช่นกัน



                                                                                                      5‐52
   119   120   121   122   123   124   125   126   127   128   129