Page 246 - ศัพท์สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 246

ดำาเนินงานด้านความก้าวหน้าของสถานภาพ ปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนา
            สตรี ตลอดจนปัญหาสิทธิมนุษยชนของสตรี ทั้งนี้เนื่องจากสตรีเป็นกลุ่มบุคคล
            ที่ถูกละเมิดสิทธิและเสรีภาพมากที่สุดกลุ่มหนึ่ง

                  ที่ผ่านมาองค์การสหประชาชาติได้จัดให้มีการประชุมโลกว่าด้วย
            สิทธิสตรีขึ้นรวมสี่ครั้ง ดังนี้

                  • ครั้งที่หนึ่งใน ค.ศ. 1975 (พ.ศ. 2518) ณ กรุงเม็กซิโกซิตี้ ประเทศ
                    เม็กซิโก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นให้สตรีเข้ามามีส่วนร่วมในการ
                    พัฒนาเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม รวมทั้งกำาหนดยุทธศาสตร์
                    เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว ภายใต้แนวคิดหลัก คือ ความเสมอภาค
                    การพัฒนาและสันติภาพ  ผลการประชุมครั้งนี้ทำาให้สมัชชา
                    สหประชาชาติประกาศให้ ค.ศ. 1976 - 1985 (พ.ศ. 2519 - 2528)
                    เป็นทศวรรษแห่งสหประชาชาติสำาหรับสตรี  และต่อมาเมื่อวันที่
                    18 ธันวาคม ค.ศ. 1979 (พ.ศ. 2522) ได้มีมติที่ 34/180 รับรอง
                    “อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ
                    (Convention  on  the  Elimination  of  All  Forms  of
                    Discrimination against Women หรือ CEDAW)” ขึ้น
                  • ครั้งที่สอง ใน ค.ศ. 1985 (พ.ศ. 2523) ณ กรุงโคเปนเฮเกน ประเทศ
                    เดนมาร์ก เพื่อทบทวนประเด็นปัญหาและอุปสรรคในช่วง 5 ปีแรก
                    ของทศวรรษสตรี  โดยที่ประชุมฯ  ได้รับรองโครงการปฏิบัติ
                    สำาหรับช่วง 5 ปีของทศวรรษสตรี ซึ่งเน้นเรื่องสุขภาพ การศึกษา
                    และการทำางานของสตรี

                  • ครั้งที่สาม ใน ค.ศ. 1995 (พ.ศ. 2528) ณ กรุงไนโรบี ประเทศ
                    เคนยา  มีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนความสำาเร็จของทศวรรษสตรี
                    ตลอดจนประเมินผลการดำาเนินงานในช่วงทศวรรษสตรี โดยที่ประชุม
                    มีมติรับรองยุทธศาสตร์ในการมองไปข้างหน้าเพื่อความก้าวหน้าของ
                    สตรีแห่งไนโรบี  (Nairobi  Forward-looking  Strategies  for
                    the  Advancement  of  Women)  ซึ่งเน้นความสำาคัญของสตรี
                    ในฐานะผู้กำาหนดนโยบาย ผู้วางแผน ตลอดจนในฐานะผู้ให้ประโยชน์
                    และผู้รับประโยชน์จากการพัฒนา


                                                                        235
   241   242   243   244   245   246   247   248   249   250   251