Page 247 - ศัพท์สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 247
• ครั้งที่สี่ใน ค.ศ. 1995 (พ.ศ. 2538) ณ กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐ
ประชาชนจีน จัดขึ้นในวาระครบรอบสิบปีที่สิ้นสุดทศวรรษว่าด้วย
สตรี รัฐบาลของประเทศต่าง ๆ ได้ให้ความสำาคัญต่อปัญหาของสตรี
โดยรัฐบาลจาก 116 ประเทศได้ลงมติรับรองและลงนามในปฏิญญา
และแผนปฏิบัติการปักกิ่ง (Beijing Declaration and Platform
for Action หรือ BDPA) ซึ่งเน้นการส่งเสริมความก้าวหน้าในการ
เสริมสร้างศักยภาพสตรี สิทธิสตรี ความยากจน และการอนุวัติ
อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ
ซึ่งเน้นหลักความเสมอภาค (Equality) การไม่เลือกปฏิบัติ
(Non-discrimination) และพันธะหน้าที่ของรัฐ (State Obligation)
ในการคุ้มครองสนับสนุน และดำาเนินการให้ผู้หญิงได้รับสิทธิ
และโอกาสในด้านต่าง ๆ ตลอดจนให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนา
แห่งสหัสวรรษ (Millennium Development Goals หรือ MDGs)
และความร่วมมือระหว่างประเทศ
การประชุมครั้งที่ห้าจะจัดขึ้นใน ค.ศ. 2015 (พ.ศ. 2558) ณ
นครซานฟรานซิสโก ประเทศสหรัฐอเมริกาและจะมีการนำาเทคโนโลยี
สารสนเทศ เช่น อินเทอร์เน็ต เครือข่ายสังคมออนไลน์ โทรศัพท์มือถือ
แท็บเล็ต และอื่น ๆ มาใช้เพื่อให้ประชาชนทั่วโลกมีส่วนร่วมในการนำาเสนอ
ปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาของสิทธิสตรี
WORLD
ENVIRONMENTAL DAY (WED) วันสิ่งแวดล้อมโลก
สหประชาชาติได้ประกาศให้วันที่ 5 มิถุนายนของทุกปีเป็นวันสำาคัญ
ระดับโลกเพื่อสร้างจิตสำานึกร่วมกันในการรักษาภาวะแวดล้อมของโลกให้ยั่งยืน
จุดเริ่มต้นของวันสิ่งแวดล้อมโลกเกิดจากการประชุมระหว่างประเทศเรื่อง
“การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยสิ่งแวดล้อมของมนุษย์” ณ กรุงสต๊อกโฮล์ม
ประเทศสวีเดน ใน ค.ศ. 1972 (พ.ศ. 2515) ในการประชุมครั้งนั้น สมัชชา
ใหญ่สหประชาชาติได้รับรองปฏิญญาสากลว่าด้วยสิ่งแวดล้อมของมนุษย์
(Universal Declaration on Human Environment)
236