Page 234 - ศัพท์สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 234

UNITED NATIONS                ข้อกำาหนดมาตรฐาน
               STANDARD MINIMUM RULES  ขั้นต่ำาของสหประชาชาติ
                FOR THE TREATMENT                  ว่าด้วยการปฏิบัติ
                OF PRISONERS 1955              ต่อผู้ต้องขัง พ.ศ. 2498

                  ประมวลหลักการและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการบริหารเรือนจำา
            และการปฏิบัติกับผู้ต้องขังเพื่อให้สอดคล้องกับหลักสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐาน
            และคำานึงถึงศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์ของผู้ต้องขังข้อกำาหนดฯ  จัดทำาขึ้น
            ในการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการป้องกันอาชญากรรมและการคุ้มครอง
            ผู้กระทำาผิด ณ นครเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์ ใน ค.ศ. 1955 (พ.ศ. 2498)
            และต่อมาข้อกำาหนดฯ  นี้ได้รับรองโดยคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม
            แห่งสหประชาชาติใน  ค.ศ.  1957  (พ.ศ.  2500)  และ  ค.ศ.  1977  (พ.ศ.
            2520)  มักจะเรียกประมวลหลักการฯ  นี้สั้น  ๆ  ว่า  “มาตรฐานการปฏิบัติ
            ต่อผู้ต้องขัง”

                  ข้อกำาหนดมาตรฐานขั้นต่ำาฯ รวบรวมทั้งหลักการในการจัดการเรือนจำา
            สิทธิขั้นพื้นฐานของผู้ต้องขัง และแนวทางสำาหรับการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังรวม
            ทั้งหมด 95 ข้อที่สำาคัญ เช่น

                  • การย้ำาว่าข้อกำาหนดนี้มิได้ต้องการกำาหนดรายละเอียดของรูปแบบ
                    ของเรือนจำา แต่เป็นการวางหลักการร่วมกันขององค์ประกอบที่สำาคัญ
                    ระบอบ หลักการ และแนวปฏิบัติที่เหมาะสมและยอมรับได้ในการ
                    จัดการเรือนจำา
                  • การดำาเนินการเกี่ยวกับผู้ต้องขังจะต้องไม่เลือกปฏิบัติ  และการ
                    เคารพความเชื่อทางศาสนาและศีลธรรมของผู้ต้องขัง

                  • การจัดทำาทะเบียน การจำาแนกประเภทของผู้ต้องขัง

                  • การมีห้องพักที่มีมาตรฐานขั้นต่ำาเพื่อการดำารงชีวิต  เช่น  สะอาด
                    ถูกสุขลักษณะ  มีพื้นที่และแสงสว่างเพียงพอ  มีห้องส้วมและ
                    ห้องอาบน้ำาและสิ่งของที่จำาเป็นในการทำาความสะอาดร่างกาย





                                                                        223
   229   230   231   232   233   234   235   236   237   238   239