Page 231 - ศัพท์สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 231
UNITED NATIONS HUMAN คณะมนตรีสิทธิมนุษยชน
RIGHTS COUNCIL แห่งสหประชาชาติ
องค์กรหลักองค์กรหนึ่งภายใต้การดำาเนินงานของสหประชาชาติ จัดตั้ง
ขึ้นใน ค.ศ. 2006 (พ.ศ. 2549) ตามข้อมติของสมัชชาใหญ่สหประชาชาติที่ 60/251
เพื่อให้มีภาระหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริมและปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
แทนคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (ดู UNITED NATIONS
COMMISSION ON HUMAN RIGHTS) เนื่องจากขอบเขต และภาระงาน
ด้านสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติมีมากขึ้น ดังนั้นภาระงานทั้งปวงที่เป็น
ของคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนที่อยู่ภายใต้คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม
จึงได้โอนมาเป็นของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ
คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติประกอบด้วยสมาชิกสี่สิบ
เจ็ดประเทศซึ่งได้รับการเลือกโดยการลงคะแนนเสียงจากรัฐภาคีสหประชาชาติ
ดังนั้นคณะมนตรีฯ จึงเป็นองค์กรที่ประกอบขึ้นโดยผู้แทนของรัฐ และทำางาน
ในนามของรัฐ อันต่างจากคณะกรรมการประจำาสนธิสัญญาสิทธิมนุษยชน
ซึ่งทำางานโดยไม่อยู่ภายใต้อาณัติของรัฐ
ในการดำาเนินงาน คณะมนตรีฯ มีคณะกรรมการที่ปรึกษา (Advisory
Committee) ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชนจำานวนสิบแปดคน
ให้คำาแนะนำาด้านวิชาการ
คณะมนตรีฯ มีหน้าที่ติดตามตรวจสอบการดำาเนินงานและให้คำาแนะนำา
ด้านสิทธิมนุษยชนของรัฐสมาชิกของสหประชาชาติตามกระบวนการ
การประเมินสถานการณ์ทั่วไปของสิทธิมนุษยชนตามวาระ หรือ กระบวนการ
UPR (ดู UNIVERSAL PERIODIC REVIEW) และมีอำานาจรับเรื่องราว
ร้องเรียนจากบุคคลว่ารัฐภาคีได้ละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรงและเป็น
ระบบตามกระบวนการตามข้อมติของคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมที่ 1235
และ 1503 (ดู THE 1235 PROCEDURE และ THE 1503 PROCEDURE)
คณะมนตรีฯ มีอำานาจยกประเด็นปัญหาสิทธิมนุษยชนต่าง ๆ หรือ
สถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศใด ๆ ขึ้นศึกษาหรืออภิปรายเพื่อหาทาง
แก้ปัญหาและอาจแต่งตั้งผู้จัดทำารายงาน ผู้แทน ผู้สังเกตการณ์สิทธิมนุษยชน
220