Page 167 - ศัพท์สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 167
แนวคิดเรื่องสิทธิตามธรรมชาติมีมาตั้งแต่ยุคโบราณ เช่น บทละคร
เรื่อง อานตีโกเน (ดู ANTEGONE) ของโซโฟคลีสที่เสนอว่าสิทธิ
ธรรมชาติที่พระเจ้ามอบให้กับมนุษย์นั้นอยู่เหนือกฎหมายของบ้านเมือง
หรือเจ้าผู้ครองนคร
สิทธิธรรมชาติของมนุษย์ได้รับการอธิบายให้ชัดเจนขึ้นโดยนักปรัชญา
การเมืองในยุคเรืองปัญญา (Enlightenment) เช่น จอห์น ล็อค (John Locke)
โทมัส ฮ็อบส์ (Thomas Hobbes) ฌอง ฌาค รุสโซ (Jean Jacques
Rousseau) และ จอห์น สจ๊วต มิลล์ (John Stuart Mill) ที่เสนอว่า มนุษย์ทุกคน
เกิดมาโดยสภาพธรรมชาติ มีความเป็นอิสระ และเท่าเทียมกัน แต่เมื่อมาอยู่รวมกัน
จำาเป็นต้องสละสิทธิบางอย่างของแต่ละคนให้กับองค์อธิปัตย์ เพื่อประโยชน์
ของบุคคลนั้นเอง แต่สิทธิพื้นฐานบางประการไม่สามารถสละหรือโอนได้
เช่น สิทธิในชีวิต อิสรภาพ เสรีภาพ ความมั่นคงในชีวิตและร่างกาย
สิทธิตามธรรมชาติ ได้นำามาใช้เป็นเหตุผลในการเรียกร้องความ
ชอบธรรมของคนที่อยู่ในภาวะถูกกดขี่ข่มเหงโดยระบบการปกครองที่
ไม่เป็นธรรม และใช้โต้แย้งทฤษฎีเทวสิทธิ (Devine King หรือ Devine
Right) ที่เสนอว่า กษัตริย์ได้รับมอบอำานาจจากพระเจ้าให้ปกครองพลเมือง
และมีอำานาจสูงสุดเด็ดขาดแต่ผู้เดียว
ในคำาประกาศอิสรภาพอเมริกาอ้างว่า ประชาชนอเมริกาใช้สิทธิเรียกร้อง
อิสรภาพที่ได้มาจากกฎธรรมชาติ และสิทธินั้นมิได้เป็นของขวัญที่ได้รับจาก
ฝ่ายบริหาร (ดู AMERICAN REVOLUTION) สิทธิตามธรรมชาติยังมีอิทธิพล
ต่อการปฏิวัติฝรั่งเศส โดยใช้เป็นเหตุผลเพื่อการปลดปล่อยให้พลเมืองมีอิสรภาพ
ดังปรากฏในปฏิญญาฝรั่งเศสว่าด้วยสิทธิของมนุษย์และพลเมือง ว่า “มนุษย์
เกิดมาอิสระและเท่าเทียมกันในสิทธิ และจะดำารงสิ่งนี้ตลอดไป (Men are
Born and Remain Free and Equal in Rights.)” และปฏิญญาได้ย้ำาว่า
หน้าที่ของรัฐบาลทุกรัฐบาลที่มีต่อพลเมืองก็คือ การดำารงรักษาสิทธิ
ตามธรรมชาติของมนุษย์ทุกคน
แนวคิดเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน (Human Rights) พัฒนามาจากสิทธิ
ตามธรรมชาติ นักปรัชญาหลายคนเห็นว่าสิทธิตามธรรมชาติกับสิทธิมนุษยชน
เป็นสิ่งเดียวกัน เพียงแต่เรียกชื่อต่างกัน
156