Page 168 - ศัพท์สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 168
ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนที่ได้รับอิทธิพลทางแนวคิดเรื่อง
สิทธิตามธรรมชาติผ่านทางคำาประกาศอิสรภาพอเมริกา และคำาประกาศว่าด้วย
สิทธิของมนุษย์และสิทธิพลเมืองของฝรั่งเศส เนื้อหาของปฏิญญาสากลว่าด้วย
สิทธิมนุษยชนหลายตอนที่สะท้อนปรัชญาเรื่องสิทธิตามธรรมชาติ เช่น ในประโยค
แรกของอารัมภบทที่กล่าวว่า “โดยที่การยอมรับศักดิ์ศรีแต่กำาเนิดประจำาตัว
และสิทธิที่เท่าเทียมกันและไม่อาจเพิกถอนได้ของสมาชิกทั้งมวลแห่งครอบครัว
มนุษยชาติอันเป็นหลักการแห่งอิสรภาพความยุติธรรมและสันติภาพในโลก”
และในข้อ 1 ที่กล่าวว่า “มนุษย์ทั้งปวงเกิดมามีอิสระและเสมอกันในศักดิ์ศรี
และสิทธิ ต่างได้รับ มีเหตุผล และมโนธรรมแห่งตนและควรปฏิบัติต่อกันด้วย
จิตวิญญาณแห่งภราดรภาพ”
NE BIS IN IDEM ไม่พิจารณาโทษสองครั้ง
(Latin) ในการกระทำาความผิดเดียวกัน
ภาษิตกฎหมายภาษาละติน อ่านว่า “เน บิส อิน อีเด็ม” แปลตาม
ศัพท์ว่า “Not Twice for the Same Thing”
เป็นหลักทั่วไปของกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ดู CRIMINAL
PROCEDURE LAW) ว่าบุคคลที่กระทำาผิดจะไม่ถูกพิจารณาโดยศาลซ้ำา
ในความผิดที่ถูกฟ้องซึ่งได้รับการพิจารณาพิพากษาโดยศาลไปแล้ว หลักนี้
ได้รับการรับรองโดยกฎหมายภายในของประเทศต่าง ๆ รวมทั้งเป็นหลัก
กฎหมายทั่วไปของกฎหมายระหว่างประเทศ
กฎหมายคอมมอนลอว์ของประเทศสหรัฐอเมริกา รับรองหลักการนี้ไว้
ในความหมายของคำาว่า “Double Jeopardy”
หลักการไม่พิจารณาโทษสองครั้งในการกระทำาความผิดเดียวกัน
ทำาให้เกิดบทบัญญัติห้ามฟ้องซ้ำาในกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ดังนั้น
ถ้าโจทก์เคยฟ้องจำาเลยในการกระทำานั้นแล้ว ไม่ว่าศาลได้พิพากษาให้ลงโทษ
จำาเลย หรือยกฟ้องโจทก์จะฟ้องจำาเลยในความผิดนั้นอีกไม่ได้
ในการขอส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดน ถ้าจำาเลยเคยถูกพิจารณาไต่สวนความผิด
ที่เป็นข้อหาที่ใช้ในการขอให้ส่งผู้ร้ายข้ามแดนมาแล้วในศาลของประเทศ
ที่ถูกขอให้ส่งบุคคลนั้น ประเทศที่ถูกขอสามารถปฏิเสธการส่งบุคคลนั้นได้
157