Page 124 - ศัพท์สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 124
สามารถของแต่ละคน เงื่อนไขที่จะทำาให้มนุษย์พัฒนาศักยภาพของตนเอง
ได้อย่างเต็มที่ประกอบด้วยสิทธิทางด้านชีวิตและร่างกาย อิสรภาพ
และความเสมอภาค
ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เป็นปรัชญาทางมโนธรรมที่เป็นพื้นฐาน
ในการจัดทำาปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน โดยการให้คุณค่ากับมนุษย์
ในฐานะที่เป็นมนุษย์ที่ไม่ได้อิงอยู่กับแนวคิดเรื่องคุณค่าทางศาสนาใดศาสนาหนึ่ง
โดยเฉพาะดังปรากฏในอารัมภบทของปฏิญญาว่า
“ด้วยเหตุที่การยอมรับศักดิ์ศรีแต่กำาเนิดและสิทธิที่เท่าเทียมกัน
และไม่อาจเพิกถอนได้ของสมาชิกทั้งปวงแห่งครอบครัวมนุษยชาติ
เป็นพื้นฐานแห่งอิสรภาพความยุติธรรมและสันติภาพในพิภพ…..
โดยที่ประชาชนแห่งสหประชาชาติได้ยืนยันอีกครั้งไว้ในกฎบัตรถึง
ศรัทธาในสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานในศักดิ์ศรีและคุณค่าของมนุษย์
และในความเท่าเทียมกันของบรรดาชายและหญิง และได้มุ่งมั่น
ที่จะส่งเสริมความก้าวหน้าทางสังคมและมาตรฐานแห่งชีวิตที่ดีขึ้น
ในอิสรภาพให้กว้างขวางยิ่งขึ้น...ฉะนั้น บัดนี้ สมัชชาสหประชาชาติ
จึงประกาศปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนขึ้น”
ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ได้รับรองในกฎหมายไทยครั้งแรกโดย
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 (ค.ศ. 1997)
มาตรา 4 ซึ่งบัญญัติว่า “ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ และเสรีภาพ
ของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง” รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช 2550 (ค.ศ. 2007) รับรองไว้อย่างเดียวกันในมาตรา 4
เช่นกัน
HUMAN RIGHTS DAY วันสิทธิมนุษยชนสากล
สหประชาชาติได้กำาหนดให้วันที่ 10 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันสำาคัญ
เพื่อรำาลึกถึงการประกาศปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนใน ค.ศ. 1948
(พ.ศ. 2491) ซึ่งเป็นเอกสารระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่สำาคัญ
อันเป็นพื้นฐานในการส่งเสริมการเคารพศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์
และสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของมนุษย์ทุกคน การประกาศวันสิทธิมนุษยชน
113