Page 116 - ศัพท์สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 116
GRASS-ROOTS ORGANISATIONS องค์กรรากหญ้า
ในความหมายทางสังคมและการเมือง หมายถึง การที่ชุมชนระดับ
ท้องถิ่นรวมตัวกันเพื่อเป็นพลังในการขับเคลื่อนการเมือง องค์กรรากหญ้า
มักเกิดขึ้นในระดับท้องถิ่น โดยคนในท้องถิ่นสละเวลาเพื่อสนับสนุน
พรรคการเมืองในท้องถิ่น ซึ่งจะนำาไปสู่การช่วยเหลือพรรคในระดับ
ชาติได้
คำาว่า “รากหญ้า” ราชบัณฑิตยสถานได้ให้คำานิยามว่าหมายถึง “ประชาชน
ส่วนใหญ่ของประเทศซึ่งมีฐานะยากจน และด้อยโอกาสทางสังคม”
การใช้คำาว่า “รากหญ้า” ในทางการเมืองคาดว่าเริ่มจากวุฒิสมาชิก
อัลเบิร์ต เจเรไมอาห์ เบเวอร์ริดจ์ แห่งรัฐอินเดียนา สังกัดพรรคก้าวหน้า
ที่กล่าวปราศัย ในปี ค.ศ. 1912 (พ.ศ. 2455) ว่า “พรรคนี้มาจากรากหญ้า
มันเติบโตมาจากดินแห่งความต้องการอย่างแรงกล้าของประชาชน”
สำาหรับในประเทศไทย คำาว่า “รากหญ้า” เป็นคำาที่ได้นำามาใช้
อย่างกว้างขวางในการรณรงค์ทางการเมืองโดยใช้เปรียบเทียบ หมายถึง
ประชาชนชั้นล่างของสังคมไทย โดยมากเป็นเกษตรกร ผู้ใช้แรงงาน ซึ่งล้วน
แต่เป็นผู้ที่มีรายได้น้อย มีภาวะการครองชีพต่ำา
องค์กรรากหญ้ามีบทบาทสำาคัญในการผลักดันนโยบายทางการเมือง
ให้สอดคล้องกับความต้องการท้องถิ่นของชุมชน ซึ่งมักเป็นคนชายขอบ
(ดู MARGINALISED PEOPLE) องค์กรรากหญ้ายังเป็นรูปแบบหนึ่ง
ของการแสดงออกของสิทธิในการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการกิจการ
สาธารณะ หรือสิทธิในการมีส่วนร่วมทางการเมือง (ดู THE RIGHT TO
TAKE PART IN PUBLIC AFFAIRS)
GROSS VIOLATION การละเมิดสิทธิมนุษยชน
OF HUMAN RIGHTS อย่างร้ายแรง
สภาพการณ์ที่มีการละเมิดสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของบุคคลอย่าง
กว้างขวางเป็นระบบในประเทศใดประเทศหนึ่ง ไม่ว่าจะเกิดจากการกระทำา
ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือเอกชน หรือกลุ่มกองกำาลังติดอาวุธ ซึ่งรัฐไม่สามารถ
105