Page 114 - ศัพท์สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 114
GENERAL PRINCIPLES หลักกฎหมายทั่วไป
OF LAW RECOGNISED ที่ได้รับการยอมรับ
BY CIVILIZED NATIONS โดยนานาอารยประเทศ
กฎเกณฑ์ที่ใช้บังคับในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หลักกฎหมาย
ทั่วไปที่ได้รับการยอมรับโดยนานาอารยประเทศ เป็นที่มาของกฎหมายระหว่าง
ประเทศประเภทหนึ่ง และใช้บังคับได้ทั่วไป
หลักกฎหมายทั่วไปฯ ที่เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน เช่น หลักความเท่าเทียม
(Equality) หลักการไม่พิจารณาโทษสองครั้งในความผิดเดียวกัน (Double
Jeopardy หรือ ne bis in idem) หลักการพิจารณาความผิดอาญาต้องทำา
โดยองค์กรตุลาการที่มีความเป็นอิสระ เป็นต้น
ที่มาของหลักกฎหมายทั่วไปฯ อาจเป็นหลักกฎหมายระหว่างประเทศ
หรือเป็นหลักกฎหมายภายในประเทศก็ได้ เช่น หลักการห้ามเลือกปฏิบัติ
ระหว่างคนชาติกับคนต่างชาติ (Non-discrimination) หลักการหมดสิ้น
หนทางเยียวยาตามกระบวนการยุติธรรมภายใน (Exhaustion of Local
Remedy) ซึ่งเกี่ยวกับการใช้มาตรการคุ้มครองทางการทูต (ดู Denial of
Justice) หลักความรับผิดชอบของรัฐ (State Responsibilities) ในกรณี
ที่คนของรัฐก่อความเสียหายต่อรัฐอื่น หลักสนธิสัญญาต้องตีความอย่างสุจริต
(Good Faith) หลักการใช้สิทธิต้องไม่ทำาให้รัฐอื่นเสียหาย หรือการไม่ใช้
สิทธิโดยไม่สุจริต (Abuse of Rights) เป็นต้น
หลักกฎหมายทั่วไปฯ มีความสำาคัญอย่างมากในการพิจารณาเรื่อง
พันธะหน้าที่ของรัฐเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน เนื่องจากสิทธิมนุษยชนเป็นเกณฑ์
ค่านิยมที่เป็นสากล (ดู Universality of Human Rights) หลักการเกี่ยวกับ
สิทธิมนุษยชนหลายอย่างเป็นมาตรฐานขั้นต่ำาระหว่างประเทศ ดังนั้นกฎหมาย
นโยบาย และการปฏิบัติของรัฐต่อบุคคลจึงต้องสอดคล้องกับหลักกฎหมาย
ที่รับรองโดยนานาอารยประเทศ
103