Page 117 - ศัพท์สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 117
ให้ความคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่จำาเป็นของบุคคลได้ การละเมิดสิทธิมนุษยชน
อย่างรุนแรงทำาให้สหประชาชาติสามารถมีข้อมติของคณะมนตรีเศรษฐกิจ
และสังคมที่ 1235 (ดู THE 1235 PROCEDURE) และกระบวนการ
ตามข้อมติที่ 1503 (ดู THE 1503 PROCEDURE)
กฎหมายสิทธิมนุษยนไม่ได้นิยามความหมายของคำาว่า “การละเมิด
สิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง” ไว้ แต่มีผู้เสนอว่าประกอบด้วย ระดับ
ของความรุนแรงของการละเมิดที่เกิดขึ้น และประเภทของสิทธิที่ถูก
ละเมิด
ลักษณะของการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง เช่น การล้าง
เผ่าพันธ์ุ การใช้ระบอบแบ่งแยกผิว การกดขี่ทางศาสนา การทรมาน การฆ่า
การใช้กำาลังบังคับให้หายตัว การจับกุมคุมขังตามอำาเภอใจ / โดยพลการ
เป็นต้น ซึ่งการกระทำาดังกล่าวต้องเกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง และเป็นระบบ
คำาที่เกี่ยวข้อง “THE 1235 PROCEDURE”, “THE 1503
PROCEDURE”, CRIME AGAINST HUMANITY
GUIDELINES ข้อชี้แนะ
เอกสารที่จัดทำาขึ้น เพื่อเป็นแนวทาง หรือกำาหนดวิธีการปฏิบัติ
ของหน่วยงานที่ดำาเนินงานเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
ของการปฏิบัติงานด้านนั้นให้สอดคล้องกัน
คำาว่า “ข้อชี้แนะ” มีผู้แปลไว้หลายความหมาย เช่น “ข้อแนะนำา”
“คำาแนะนำา” “แนวทาง” ในเอกสารสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศมักจะใช้
คำาว่า “ข้อชี้แนะ”
“ข้อชี้แนะ” ได้นำามาใช้อย่างกว้างขวางในการปฏิบัติงานของหน่วยงาน
ต่าง ๆ ทั้งที่เป็นหน่วยงานทั่วไปและหน่วยงานเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน ทั้งนี้
เนื่องจากสิทธิมนุษยชนเป็นเกณฑ์สากลที่ต้องการนำาเกณฑ์นั้นมาปรับใช้
ภายในประเทศในขั้นตอนปฏิบัติงานอาจมีการตีความเกณฑ์คุณค่าเหล่านั้น
ต่างกันในแต่ละประเทศ หรืออาจมีปัจจัยอย่างอื่นที่ทำาให้อาจมีการดำาเนินงาน
ที่เป็นรายละเอียดแตกต่างกันระหว่างหน่วยงานภายในประเทศด้วยกัน
106