Page 111 - ศัพท์สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 111
FREEDOM TO TRAVEL เสรีภาพในการเดินทาง
ABROAD ออกนอกประเทศ
อิสรภาพของบุคคลในการเคลื่อนไหว เดินทางข้ามพรมแดนของรัฐ
ออกไปจากรัฐ หรือการกลับเข้ามาในรัฐของตน รวมทั้งอิสรภาพในการ
กำาหนด หรือเลือกจุดหมายปลายทางในการเดินทางได้ด้วยตนเอง โดยปราศจาก
การแทรกแซงที่ไม่ชอบธรรม (ดู JUSTIFIED INTERFERENCE) เสรีภาพ
ในการออกจากดินแดนของรัฐนั้น มิได้ขึ้นอยู่กับความมุ่งหมาย หรือระยะ
เวลาของบุคคลซึ่งเลือกที่จะอยู่นอกประเทศเท่านั้น แต่หมายรวมถึง
การเดินทางไปท่องเที่ยวต่างประเทศ การย้ายถิ่นฐานอย่างถาวร และการตัดสินใจ
เกี่ยวกับประเทศจุดหมายปลายทางที่จะเดินทางไป
สิทธินี้มีความสัมพันธ์กับ “การลี้ภัย” ซึ่งเป็นปัญหาสำาคัญในช่วง
การจัดทำาปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และกติการะหว่างประเทศ
ว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง เนื่องจากประเทศสังคมนิยม
คอมมิวนิสต์ ห้ามบุคคลในประเทศซึ่งมักเกรงกลัวการรังควานจากระบอบ
การปกครองนั้นเดินทางออกนอกประเทศ การรับรองสิทธิในการเดินทาง
ออกนอกประเทศ จึงเป็นการสร้างเกณฑ์มาตรฐานสิทธิระหว่างประเทศ
ให้กับบุคคลที่อยู่ในภาวะถูกกดขี่ เพื่ออ้างความชอบธรรมในการเดินทาง
ลี้ภัยได้ ซึ่งต่อมาจึงได้มีการจัดทำาอนุสัญญาเกี่ยวกับสถานะผู้ลี้ภัย พ.ศ. 2494
(Convention relating to the Status of Refugees 1951) ขึ้น
เสรีภาพในการเดินทางออกนอกประเทศ เป็นอิสรภาพประเภทหนึ่ง
จัดอยู่ในอิสรภาพในการเคลื่อนไหว (Freedom of Movement) ซึ่งได้
รับการคุ้มครองโดยปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน นอกจากนั้น
ยังได้รับการรับรองโดยกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิ
ทางการเมือง ข้อ 12 ซึ่งกำาหนดว่า “บุคคลทุกคนย่อมมีเสรีที่จะออกจาก
ประเทศใด ๆ รวมทั้งประเทศของตนได้”
การจำากัดเสรีภาพในการเดินทางอาจทำาได้ตามหลัก “การจำากัดเสรีภาพ
ที่ชอบธรรม” ซึ่งต้องทำาได้โดยบัญญัติของกฎหมาย กฎหมายนั้นต้องมี
วัตถุประสงค์ที่สังคมประชาธิปไตยยอมรับ เช่น การป้องกันอาชญากรรม
100