Page 112 - ศัพท์สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 112
ข้ามแดน การป้องกันการลักลอบการค้ามนุษย์ การกักกันโรคติดต่อ หรือ
การป้องกันอาชญากรหลบหนีคดีอาญาไปต่างประเทศ เป็นต้น
FRENCH REVOLUTION การปฏิวัติฝรั่งเศส
เหตุการณ์ไม่สงบทางการเมืองของฝรั่งเศสใน ค.ศ. 1789 (พ.ศ. 2332)
ที่เกิดจากประชาชนลุกขึ้นต่อต้าน และโค่นล้มสถาบันกษัตริย์ในรัชสมัย
พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 อันนำาไปสู่การเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบ
สมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบสาธารณรัฐ (Republic Regime)
การปฏิวัติดังกล่าวนำามาสู่การปกครองแบบเผด็จการทหาร ที่นำาโดย
นโปเลียนโปนาพาร์ตอยู่หลายปีก่อนที่จะเปลี่ยนมาเป็นการปกครองระบอบ
ประชาธิปไตยดังเช่นปัจจุบัน
สาเหตุที่นำาไปสู่การปฏิวัติมีหลายสาเหตุ เช่น ความเหลื่อมล้ำาทางสังคม
ของระบอบฐานันดร หรือระบอบชนชั้นทางสังคมของฝรั่งเศส ซึ่งมี
สามฐานันดรอันประกอบด้วย นักบวช (ฐานันดรที่หนึ่ง) ขุนนาง (ฐานันดร
ที่สอง) และประชาชนที่เป็นชนชั้นกลางและชาวไร่ชาวนา (ฐานันดรที่สาม)
นอกจากนั้นการที่กษัตริย์ทรงใช้งบประมาณจำานวนมากในการทำา
สงครามกับอังกฤษประกอบกับการใช้จ่ายเงินอย่างฟุ่มเฟือยของราชวงศ์
โดยเฉพาะพระนางมารีอังตัวแน็ต พระราชินี จึงได้เรียกเก็บภาษีจากประชาชน
เพิ่มทำาให้ประชาชนซึ่งอยู่ในฐานันดรที่สามรู้สึกคับแค้นต่อการถูกกดขี่
ประชาชนโดยการนำาของนายพล เดอ ลาฟาแย้ต จึงจับอาวุธขึ้นต่อสู้
กับรัฐบาล และได้มีการทำาลายคุกบาสติญ ซึ่งเป็นที่คุมขังนักโทษ
ทางการเมือง และนำาไปสู่การประหารพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 และพระนาง
มารีอังตัวแน็ต
ช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส ได้มีการจัดทำาคำาประกาศสิทธิมนุษย์
และสิทธิพลเมืองฝรั่งเศสขึ้นเพื่อยืนยันความเท่าเทียมของสิทธิและเสรีภาพ
ขั้นพื้นฐานของมนุษย์ และในฐานะที่เป็นพลเมือง คำาประกาศฉบับนี้
ได้กลายเป็นพื้นฐานสำาคัญของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
(ดู Declaration of the Rights of Man and of the Citizen)
101