Page 110 - ศัพท์สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 110
FREEDOM OF RELIGION เสรีภาพทางศาสนา
การปลอดจากการถูกจำากัดของบุคคลที่เกี่ยวกับการมีความเชื่อ ยึดถือ
หรือปฏิบัติตามแนวทางของคำาสอนทางศาสนา
เสรีภาพทางศาสนา ประกอบด้วยสิทธิในการประกอบศาสนพิธี
ตามลำาพัง หรือร่วมกับบุคคลอื่น ทั้งในที่ส่วนตัว หรือที่สาธารณะ รวมทั้ง
สามารถเข้าร่วมพิธี ปฏิบัติ และเผยแพร่คำาสั่งสอนทางศาสนา โดยไม่ต้อง
เกรงกลัวต่อการถูกลงโทษจากรัฐบาล หรือถูกโจมตีโดยชนกลุ่มอื่น
เสรีภาพทางศาสนามีความสัมพันธ์กับเสรีภาพด้านอื่น เช่น เสรีภาพ
ในการแสดงออก และการพิมพ์ เสรีภาพในการได้รับข้อมูลข่าวสาร เสรีภาพ
ในการรวมกลุ่มสมาคม และเสรีภาพในการชุมนุม เป็นต้น ดังนั้นในการคุ้มครอง
เสรีภาพทางศาสนา รัฐต้องประกันเสรีภาพเหล่านี้ด้วย
เสรีภาพทางศาสนาได้รับการรับรองโดยข้อ 18 ของปฏิญญาสากล
ว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และข้อ 18 ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมือง
และสิทธิทางการเมือง
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 (ค.ศ. 2007)
ได้รับรองสิทธินี้ไว้มาตรา 37 ว่า
“บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการถือศาสนา นิกายของศาสนา
หรือลัทธินิยมในทางศาสนา และย่อมมีเสรีภาพในการปฏิบัติตามศาสนธรรม
ศาสนบัญญัติ หรือปฏิบัติพิธีกรรมตามความเชื่อถือของตน เมื่อไม่เป็น
ปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของพลเมือง และไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อย
หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
ในการใช้เสรีภาพตามวรรคหนึ่ง บุคคลย่อมได้รับความคุ้มครองมิให้รัฐ
กระทำาการใด ๆ อันเป็นการรอนสิทธิหรือเสียประโยชน์อันควรมีควรได้ เพราะเหตุ
ที่ถือศาสนา นิกายของศาสนา ลัทธินิยมในทางศาสนา หรือปฏิบัติตาม
ศาสนธรรม ศาสนบัญญัติ หรือปฏิบัติพิธีกรรมตามความเชื่อถือ แตกต่าง
จากบุคคลอื่น”
99