Page 191 - คู่มือการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจตามหลักสิทธิมนุษยชน
P. 191

สำ�นักง�นคณะกรรมก�รสิทธิมนุษยชนแห่งช�ติ




            หรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็น
            ทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญจะกระทำามิได้ (รัฐธรรมนูญ

            แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๓๐)


                     ๓.๒๗.๒   แนวทางในการปฏิบัติ

                     เจ้าหน้าที่ตำารวจจะต้อง เคารพสิทธิและเสรีภาพของประชาชน
            ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ และตามกฎหมายอื่นใด ในการปฏิบัติ
            หน้าที่หรือการบังคับใช้กฎมายอย่างเคร่งครัด โดย ไม่เลือกปฏิบัติ คือ
            ไม่มีการแยกแยะ การกีดกัน การจำากัดการริดรอน หรือการปฏิบัติ

            เป็นพิเศษใดๆ ต่อบุคคลหรือกลุ่มบุคคล อันเนื่องมาจากถิ่นกำาเนิด
            เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะ
            ของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษา
            อบรมหรือความคิดเห็นทางการเมืองดังกล่าวมาแล้ว (ศูนย์ศึกษาและพัฒนา

            สันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล  รายงานการศึกษาเรื่อง สิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐาน
            ตามกรอบรัฐธรรมนูญในบริบทของสังคมไทยและมาตรฐานสากลระหว่าง
            ประเทศด้านสิทธิมนุษยชน, ๒๕๔๙) คือ

                             (๑)  เจ้าหน้าที่ตำารวจต้องไม่ริดรอนสิทธิ์ที่จะมีชีวิต
            อยู่ในสังคม ของคนที่มีความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำาเนิด ฯ

                             (๒)  เจ้าหน้าที่ตำารวจต้องไม่ทำาการทรมาน หรือลงโทษ
            ใดๆ ที่เป็นการโหดร้าย ไร้มนุษยธรรมหรือต่ำาช้า กับบุคคลที่มีความแตกต่าง
            ในเรื่องถิ่นกำาเนิดฯ

                             (๓)  เจ้าหน้าที่ตำารวจต้องไม่ดำาเนินการควบคุม กักขัง
            บุคคลที่มีความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำาเนิดฯ เพียงเหตุเพราะว่าไม่สามารถ
            ชำาระหนี้ได้ตามสัญญา หรือการกักขังด้วยเหตุแห่งหนี้






                                         167
   186   187   188   189   190   191   192   193   194   195   196