Page 139 - คู่มือการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจตามหลักสิทธิมนุษยชน
P. 139
สำ�นักง�นคณะกรรมก�รสิทธิมนุษยชนแห่งช�ติ
(๕) ไม่ว่าการรวมตัวของฝูงชน จะถูกต้องเป็นไป
ตามกฎหมายหรือไม่ ตำารวจจะต้องอำานวยความสะดวกการจราจร
และจัดการไม่ให้ฝูงชนกีดขวางการจราจร ในการชุมนุมเรียกร้องที่ไม่ได้
มีการเตรียมการมาก่อน ผู้บัญชาการเหตุการณ์ ต้องตัดสินใจโดยดู
จำานวนผู้มาชุมนุมว่าจะให้เดินหรืออยู่บนทางเท้า หรือจะให้ใช้ถนนช่องทาง
ใดช่องทางหนึ่ง โดยพิจารณาปัจจัยความสมดุลระหว่างสิทธิในการชุมนุม
โดยสงบและปราศจากอาวุธในที่สาธารณะ กับการกีดขวางการจราจร
และการกระทบสิทธิเสรีภาพของผู้อื่นและส่วนรวมในการเดินทาง ตำารวจ
ต้องติดต่อกับผู้ประสานงานหรือแกนนำาผู้ชุมนุมเพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้
ด้วยการเจรจา การจัดการจราจรมีความจำาเป็นทั้งการรักษาความปลอดภัย
ให้ผู้ชุมนุม และช่วยในการควบคุมพื้นที่ชุมนุม การจำากัดผลกระทบการชุมนุม
และการสลายการชุมนุม
(๖) ตำารวจพึงระลึกไว้ว่าผู้ชุมนุมไม่ได้เป็นผู้กระทำาผิด
เหมือนกันทั้งหมด แม้ว่าจะมีผู้ชุมนุมบางคนใช้ความรุนแรงหรือทำาลาย
ทรัพย์สิน ซึ่งกลุ่มผู้ชุมนุมที่ไม่ได้ใช้ความรุนแรงด้วยอาจถูกกักหรือกั้นไว้
ไม่ให้ออกจากพื้นที่ชุมนุม ดังนั้นตำารวจจะต้องคำานึงถึงความเสี่ยง ในการ
จับกุมหรือใช้กำาลังกับผู้ชุมนุมที่ไม่ได้ทำาผิดกฎหมาย หรือมีส่วนก่อเหตุรุนแรง
ในระหว่างการชุมนุม
(๗) ตำารวจต้องหลีกเลี่ยงการโต้เถียงหรือใช้คำาพูดด่าทอ
กับกลุ่มผู้ชุมนุม การด่าทอของกลุ่มผู้ชุมนุม หรือใช้คำาพูดหยาบคายด่าว่า
ตำารวจ ไม่เป็นเหตุเพียงพอให้จับกุมผู้ชุมนุมแต่ละบุคคล
(๘) ตำารวจจะต้องไม่แสดงอาวุธหรือกำาลังว่าจะเข้าใช้
กำาลังในเหตุการณ์ชุมนุมที่ไม่ผิดกฎหมาย จะแสดงได้เมื่อมีการแจ้งเตือนว่า
จะมีการสลายการชุมนุม หรือมีการแจ้งผู้ชุมนุมว่าเป็นการชุมนุมที่ผิดกฎหมาย
ก่อเหตุวุ่นวาย ให้เลิกการชุมนุมตามที่กฎหมายกำาหนด
115