Page 135 - คู่มือการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจตามหลักสิทธิมนุษยชน
P. 135
สำ�นักง�นคณะกรรมก�รสิทธิมนุษยชนแห่งช�ติ
ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเพื่อป้องกันมิให้
มีการผูกขาดตัดตอนในทางเศรษฐกิจ
ผู้ชุมนุมจะต้องระมัดระวังให้การชุมนุมอยู่ภาย
ใต้ขอบเขตของกฎหมาย มิฉะนั้นหากมีการก่อความวุ่นวาย ใช้กำาลังขว้าง
ปาทำาลายสิ่งของของบุคคลอื่น หรือกีดขวางทางสัญจรจนเกิดความเดือด
ร้อนรำาคาญ อาจเป็นความผิดตามกฎหมาย ซึ่งเจ้าพนักงานอาจกล่าวอ้าง
เป็นความผิดได้ ทั้งตาม ป.อ., พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒, พ.ร.บ.
ควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียง พ.ศ. ๒๔๙๓
(๒) หลักสิทธิมนุษยชนตามกติการะหว่างประเทศ
เนื่องจากประเทศไทยเป็นสมาชิกขององค์การ
สหประชาชาติ จึงต้องระมัดระวังมิให้มีการล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชนขึ้น
มิฉะนั้นอาจถูกร้องเรียน หรือส่งรายงานการล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชน
ต่อคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และสหประชาชาติอาจดำาเนิน
มาตรการที่มีผลกระทบต่อประเทศไทยได้ นอกจากนี้ การที่ประเทศไทย
ได้เข้าเป็นภาคีกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการ
เมือง พ.ศ. ๒๕๐๙ ประเทศไทยจึงมีพันธกรณีที่จะต้องพัฒนากฎหมาย
และดำาเนินการให้สอดคล้องกับบทบัญญัติแห่งกติกาดังกล่าว ซึ่งได้แก่
(๒.๑) ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
สหประชาชาติ พ.ศ.๒๔๙๑ (Universal Declaration of Human Rights, ๑๙๔๘)
ข้อ ๒๐(๑) บุคคลมีสิทธิในเสรีภาพแห่งการชุมนุมและการสมาคมโดยสงบ
(๒.๒) กติการะหว่างประเทศว่าด้วย
สิทธิพลเมือง และสิทธิทางการเมือง พ.ศ.๒๕๐๙ (International Covenant
on Civil and Political Rights, ๑๙๖๖) ข้อ ๒๑ สิทธิในการร่วมประชุม
โดยสงบย่อมได้รับการรับรอง การจำากัดการใช้สิทธินี้จะกระทำามิได้นอกจาก
จะกำาหนดโดยกฎหมายและเพียงเท่าที่จำาเป็นสำาหรับสังคมประชาธิปไตย
111