Page 125 - คู่มือการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจตามหลักสิทธิมนุษยชน
P. 125
สำ�นักง�นคณะกรรมก�รสิทธิมนุษยชนแห่งช�ติ
ใช้วิธีการควบคุมเกินกว่าความจำาเป็นเพื่อป้องกันการหลบหนี หรือเพื่อ
ความปลอดภัยของเด็กหรือเยาวชนผู้ถูกจับหรือบุคคลอื่น รวมทั้งห้ามมิให้
ใช้เครื่องพันธนาการแก่เด็กไม่ว่ากรณีใดๆ เว้นแต่มีความจำาเป็นอย่างยิ่ง
อันมิอาจหลีกเลี่ยงได้เพื่อป้องกันการหลบหนีหรือเพื่อความปลอดภัย
ของเด็กผู้ถูกจับกุมหรือบุคคลอื่น (โปรดดู พ.ร.บ. ศาลเยาวชนและครอบครัว
และวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๓ มาตรา ๖๙)
การควบคุมเด็กหรือเยาวชนนั้น ห้ามควบคุมรวมกับผู้ใหญ่
ให้ควบคุมไว้ในสถานที่เหมาะสม
๓.๑๒ การควบคุมผู้ต้องหาในคดีที่อยู่ในอำานาจศาลทหาร
๓.๑๒.๑ ควบคุมได้ภายในสี่สิบแปดชั่วโมง นับแต่เวลาที่มาถึง
ที่ทำาการของพนักงานสอบสวน
๓.๑๒.๒ ยื่นคำาร้องต่อศาลทหาร ให้ออกหมายขังตามอัตราโทษ
ของแต่ละคดี ตาม ป.วิ.อ. มาตรา ๘๗
๓.๑๓ การควบคุมผู้ต้องหาในคดี พระราชบัญญัติ ป้องกัน
และปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. ๒๕๑๙
เจ้าหน้าที่ตำารวจที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมาย
ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด มีอำานาจในการควบคุม
ผู้ถูกจับไว้เป็นเวลาไม่เกินสามวัน โดยไม่จำาเป็นต้องนำาตัวส่งพนักงานสอบสวน
ทันที ตาม ป.วิ.อ. มาตรา ๘๔ โดยมิให้ถือว่าเป็นการควบคุมของพนักงาน
สอบสวน ตาม พ.ร.บ.ฯ ดังกล่าวข้างต้น
101