Page 126 - คู่มือการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจตามหลักสิทธิมนุษยชน
P. 126
คู่มือการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำารวจตามหลักสิทธิมนุษยชน
๓.๑๔ การใช้เครื่องพันธนาการ
๓.๑๔.๑ หลักการ
การใช้เครื่องพันธนาการในการควบคุมตัวผู้กระทำาความผิดนั้น
จะกระทำาได้ก็ต่อเมื่อมีความจำาเป็นเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้กระทำาความผิด
หลบหนีไปจากการควบคุมของเจ้าหน้าที่ อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าเจ้าหน้าที่
ตำารวจจะมีอำานาจในการควบคุมตัว และมีอำานาจที่จะใช้เครื่องพันธนาการ
กับผู้กระทำาความผิดได้ แต่ก็เป็นการใช้อำานาจที่กระทบต่อสิทธิเสรีภาพ
ของบุคคล แต่เมื่อบุคคลใดก็ตามกระทำาความผิดอันมีโทษตามกฎหมาย
ก็สมควรที่จะต้องได้รับการลงโทษ ซึ่งการลงโทษผู้กระทำาความผิดนั้น
เป็นไปตาม ป.อ. มาตรา ๑๘ ได้แก่ ประหารชีวิต จำาคุก กักขัง ปรับ
และริบทรัพย์ ซึ่งการใช้อำานาจดังกล่าวของเจ้าหน้าที่ตำารวจ ก็ต้องคำานึงถึง
ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ด้วย
๓.๑๔.๒ แนวทางในการปฏิบัติ
(๑) ใช้เท่าที่จำาเป็นเพื่อป้องกันมิให้เขาหลบหนีเท่านั้น
(โปรดดู ป.วิ.อ. มาตรา ๘๖)
(๒) หากจำาเป็นต้องใช้เครื่องพันธนาการ เช่น กุญแจมือ
กับโซ่ร้อย ในการควบคุมผู้ต้องหา เจ้าหน้าที่ตำารวจไม่จำาเป็นต้องใช้ทุกกรณี
ดังนั้น ก่อนที่จะใช้เครื่องพันธนาการจึงควรพิจารณาจากปัจจัยหลายๆ ด้าน
(โปรดดูระเบียบการตำารวจเกี่ยวกับคดี ข้อ ๑๔๖) ดังนี้
(๒.๑) ให้พิจารณาถึงฐานความผิด ว่าเป็นความผิด
อุกฉกรรจ์หรือเล็กน้อย หากเป็นความผิดอุกฉกรรจ์หรือไม่แน่ใจว่าจะหลบหนี
ก็ควรใช้กุญแจมือ
102