Page 129 - คู่มือการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจตามหลักสิทธิมนุษยชน
P. 129

สำ�นักง�นคณะกรรมก�รสิทธิมนุษยชนแห่งช�ติ




            ๓.๑๕  การตั้งจุดตรวจจุดสกัด ตามหลักสิทธิมนุษยชน


                     ๓.๑๕.๑   หลักการ

                     ภารกิจหลักของตำารวจอีกอย่างหนึ่งก็ คือ การป้องกันและ
            ปราบปรามอาชญากรรม ซึ่งหากการปฏิบัติตามภารกิจมีประสิทธิภาพ
            ย่อมทำาให้เป้าหมายในการป้องกันอาชญากรรมบรรลุผลสำาเร็จได้ ทั้งนี้
            โดยต้องระลึกอยู่เสมอว่าการปฏิบัติภารกิจใดๆ ก็ตาม ต้องอยู่ภายใต้

            ขอบเขตของกฎหมายที่ให้อำานาจโดยคำานึงถึงหลักสิทธิเสรีภาพของประชาชน
            ตามที่รัฐธรรมนูญกำาหนด และหลักสิทธิมนุษยชนสากลด้วย

                     การตั้งจุดตรวจ จุดสกัด มีวัตถุประสงค์ที่สำาคัญก็คือ
                             (๑)  เพื่อควบคุมพื้นที่ล่อแหลมต่อการเกิดอาชญากรรม
                             (๒)  เพื่อเป็นการป้องกันและปราบปรามการกระทำาผิด

                             (๓)  เพื่อเป็นการตัดช่องโอกาสในการกระทำาผิด
            โดยเฉพาะการปิดเส้นทางที่คนร้ายจะหลบหนี
                             (๔)  เพื่อตรวจค้นบุคคล หรือยานพาหนะที่ผ่านเข้าออก

            พื้นที่ เพื่อป้องกันการกระทำาผิด
                             (๕)  เพื่อค้นหาสิ่งผิดกฎหมาย อาวุธ เครื่องมือเครื่องใช้
            ที่จะใช้ในการกระทำาผิด



                     ๓.๑๕.๒ แนวทางในการปฏิบัติ
                             ๓.๑๕.๒.๑   การตั้งด่านตรวจ จุดตรวจ หรือจุดสกัด

            ในเขตทางเดินรถหรือทางหลวง ใช้เมื่อกรณีที่มีเหตุจำาเป็นหรือเหตุการณ์
            ฉุกเฉินเร่งด่วน ต้องมีนายตำารวจชั้นสัญญาบัตรเป็นหัวหน้าควบคุม โดยได้รับ
            อนุมัติจากผู้บังคับบัญชา โดยต้องแต่งกายเครื่องแบบในการปฏิบัติหน้าที่
            และให้ทุกหน่วยประสานการปฏิบัติระหว่างหน่วยใกล้เคียงให้ชัดเจนเพื่อไม่
            ให้เกิดการซำ้าซ้อนกัน


                                         105
   124   125   126   127   128   129   130   131   132   133   134